การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 4. เพื่อประเมินผลความพึงพอใจการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 33 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอน PLOPG Model แผนการจัดการเรียนรู้ PLOPG Model แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (IOC)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนให้ความสนใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอน ในภาพรวมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบด้วยการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าความสนใจ และกระตุ้นการเรียนรู้ จากการร้องเพลง เกมที่เกิดความรู้ อาจมีภาพหรือการ์ตูนประกอบกิจกรรม มีการทบทวนเนื้อหาเดิมเพื่อเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาใหม่ มีการนำเสนอเนื้อหาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีการฝึกทักษะซ้ำๆจนเกิดความเข้าใจและมีการสรุปความรู้เป็นหลักการหรือกฎต่างๆ โดยใช้การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. รูปแบบการเรียนการสอน มีชื่อว่า “PLOPG Model” ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยการดำเนินการ 5 ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparing Step: P)
2) ขั้นทบทวน (Learning of Review Step: L)
3) ขั้นการนำเสนอเนื้อหาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Offer of Learning Step: O)
4) ขั้นฝึกทักษะ (Practice Step: P)
5) ขั้นสรุป (Generalization Step: G)
โดยรูปแบบการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.01/83.23 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.50, S.D = 0.60) ส่วนความพึงพอใจรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประโยชน์ของรูปแบบการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.61, S.D.= 0.47)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] กรมวิชาการ.2544. การวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
[3] ฉวีวรรณ เศวตมาลย์.2544. ศิลปะการสอน คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวิรินาสาส์นการพิมพ์.
[4] วัฒนะ สะดวก. 2557. การคัดสรรรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและวิธีการจัดการเรียนรู้วิชาเกษตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), P.180.
Sadouk W. The Selection of forms of teaching and learning methods of agriculture. 2014. Journal of Industrial Education, 13(1), P.180-187.
[5] มงคล วงศ์พยัคฆ์.2547. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
[6] Kruse.2009. Toward a theory of instruction. Cambridge. MA: Harvard University Press.
[7] Dick and Carey.2004.The Systematic Design of Instruction. 5th ed. New York : Addison- Wesley, Longman.
[8] Joyce, B., Weil, M., and Calhoun, E. 2009. Models of Teaching. 8th (N.P.): Allyn & Bacon.
[9] ทิศนา แขมมณี. 2552. ศาสตร์การสอน.พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
[10] พรรณทิพา อินทพงศ์.2556. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ SPA – MATH MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วารสารศึกษาศาสตร์, เลขหน้า 47.
Inthapong P.2013.Development of teaching math SPA - MATH MODEL to develop the ability to solve math problems for students in grade five. Journal of education, 5 P. 47.
[11] ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. 2555. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและจิตตนิสัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[12] แสงเดือน เจริญฉิม. 2552. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างเสริมมโนทัศน์และการแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.