บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง นิวแมติกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง นิวแมติกส์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ก่อนและหลังเรียนด้วย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง นิวแมติกส์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2/2556 จำนวน 20 คน สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง นิวแมติกส์ แบบประเมินบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง นิวแมติกส์ และแบบทดสอบเพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง นิวแมติกส์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.66 : 81.17 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง นิวแมติกส์ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] กมลพรรณ ศรีแก้ว. 2550. การสร้างบทเรียนออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี ปราจีนบุรี. (เอกสาร อัดสำเนา)
[3] กิดานันท์ มลิทอง. 2540. เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[4] วิชุดา รัตนเพียร. 2543. การเรียนการสอนผ่านเว็บ ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 27(3), น. 29-35.
[5] Ritchie, D. C., and Hoffman, B. 1997. Incorporating Instructional Design Principles with the World Wide Web. In B.H. Khan (Ed) pWeb-based Instruction. Englewood Cliffs,p.135-138 New Jersey Educational Technologies Publications.
[6] ทิศนา แขมมณี. 2553. ศาสตร์การสอน.กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
[7] สุพิน วรรณรส. 2553. บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาวงจรพัลส์และดิจิตอลสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[8] พัชรีภรณ์ สมวงศ์. 2553. บทเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต เรื่อง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์เบื้องต้นหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2546 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[9] ศักดา เชื้อสิงห์. 2553. บทเรียนผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การวิเคราะห์ และ ออกแบบระบบ สารสนเทศ สำหรับ นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณ สุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 9(1), น. 129-137.