การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล

Main Article Content

ภัคพล อนุรักษ์เลขา
กฤษณา คิดดี
ธนินทร์ รัตนโอฬาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา จำนวน 570 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านตัวบ่งชี้และด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 7 คน และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มครูผู้สอนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา จำนวน 570 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย คือ คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม AMOS ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากลจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีตัวบ่งชี้ที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวนทั้งสิ้น 21 ตัวบ่งชี้ ครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้  2. ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ และ    3. ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้  (2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (Chi-square = 160.436  df = 134 , p = .059 , c2 /df = 1.197 , RMSEA = .022 , RMR = .011 GFI = .966 , AGFI = .941 , CFI = .997) น้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้ง 21 ตัวบ่งชี้ มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.69 – 0.94 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ สมรรถนะของผู้เรียน ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลักทั้ง 3 ด้านนั้น  มีค่าเป็นบวก และมีขนาดตั้งแต่ 0.93 – 0.97 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกัน เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการ  ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ โดยองค์ประกอบหลักในแต่ละด้านดังกล่าว มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.97 , 0.94 และ 0.93  ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
อนุรักษ์เลขา ภ., คิดดี ก., & รัตนโอฬาร ธ. (2015). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 98–105. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122357
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. 2553. แนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[2] ภานุภัทร จรัสนูพิพัฒน์. 2555. สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐาน สากล เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(2),น.171-177.

[3] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. 2554. มัธยมศึกษายุคใหม่สู่มาตรฐานสากล 2561. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[4] รุ้งรังสี วิบูลชัย. 2544. การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมของคุณภาพการสอนในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎี บัณฑิต สาขาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] ดิเรก วรรณเศียร ประสิทธิ์ เขียวศรี และนพรุจ ศักดิ์ศิริ. 2553. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนมาตรฐาน สากล. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[6] Lunenburg, Fred. C. and Ornstein, Allan. C. 1996. Educational administration: Concept and practices. 2nd ed. Belmont, CA: Wadsworth.

[7] Hair, J.F., W.C. Black, et al. 2005. Multivariate Data Analysis. New Jersey: Person Prentice Hall.

[8] ธนินทร์ รัตนโอฬาร. 2553. การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาปริญญา บัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ : การประยุกต์ใช้โมเดล การวัดเชิงก่อตัวและเชิงสะท้อน. กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[9] เศรษฐภรณ์ หน่อคำ. 2548. การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษา อังกฤษในโรงเรียนสองภาษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[10] กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

[11] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. 2553. คู่มือการขับเคลื่อนกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[12] คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

[13] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. 2553. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.