การพัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาความเป็นไปได้ของแบบจำลองการฝึกอบรม วิธีการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจ การศึกษาเอกสาร และการทดลองแบบ One Group Pretest Posttest ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ขั้นพัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรม เป็นบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 263 คน ขั้นศึกษาความเป็นไปได้ของแบบจำลองการฝึกอบรม จำนวน 25 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบทดสอบ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยในขั้นการพัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรม พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จในการจัดการการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มีความพร้อมด้าน โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการบริการนักท่องเที่ยว ด้านความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว และ มีเว็บไซต์ของหน่วยงาน แต่ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบเรื่องการท่องเที่ยวโดยตรง และบุคลากรขาดความรู้ในการสร้าง และการจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยว ซึ่งต้องได้รับการฝึกอบรม เนื้อหาที่ต้องการฝึกอบรม คือ เนื้อหาการสร้างและจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยว และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยว ส่วนผลการวิจัยการพัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรมได้แบบจำลองคือ Readiness Training Time frame and Evaluation Model หรือ RTTE Model ผลการนำไปใช้พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจในวิธีการฝึกอบรม เนื้อหาและกิจกรรมการฝึกอบรม และสถานที่และการจัดการฝึกอบรม ในระดับมาก การฝึกอบรมส่งผลให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยว ในระดับมาก ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวมากกว่าก่อนการฝึกอบรม ดังนั้นการพัฒนาการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างศักยภาพ มีการรับรู้ และมีการต่อรอง สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจะส่งผลต่อชุมชน เศรษฐกิจและสังคมต่อไปในอนาคต
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] เทิดชาย ช่วยบำรุง. 2552. บทบาทขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
[3] รชพร จันทร์สว่าง. 2546. เอกสารการสอนชุด วิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[4] ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. 2552. ความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองของผู้เรียนผู้ใหญ่ของกิจกรรมการศึกษาผู้ใหญ่บาง ประเภท. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการศึกษา ผู้ใหญ่ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[5] ยงยุทธ เกษสาคร. 2544. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ : เอสแอนด์จีกราฟิค.
[6] สมคิด บางโม. 2549. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยพัฒน์.
[7] Seels, B and Z.Glasgow. 1998. Making Instructional Design Decisions. New Jersey: Prentice – Hall, Inc.
[8] ระพีพรรณ ทองห่อ และคณะ. 2551. คู่มือการจัดการและการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[9] ดรรชนี เอมพันธุ์. 2546. ระบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. ในเอกสารประกอบการสอนวิชา 308424 การวางแผนจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาอนุรักษวิทยาคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[10] นภดล ภาคพรต. 2546. ความหมาย ความสำคัญ และหลักการการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[11] วรรณา วงษ์วานิช. 2546. ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[12] ยุพวัลย์ ทองใบอ่อน. 2557. การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมวิชาชีพผ่านเว็บ กรณีศึกษา : วิชาการจัดดอกไม้แบบตะวันออกในโครงการฝึกอบรมวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), น. 34-41.
[13] สุรชัย จิวเจริญสกุล. 2545. การพัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรมสู่แนวทางการทำอาชีพธุรกิจร้านอาหาร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปะศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา อาชีวศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.