การพัฒนาบทเรียนโมบายเลิร์นนิง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนโมบายเลิร์นนิง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนโมบายเลิร์นนิง สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 กลุ่ม ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) กลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนจำนวน 24 คน ใช้เพื่อทดลองหาประสิทธิภาพบทเรียน กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนจำนวน 30 คน ใช้เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนโมบายเลิร์นนิง แบบประเมินบทเรียนโมบายเลิร์นนิง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนโมบายเลิร์นนิง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.63/80.42 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนโมบายเลิร์นนิง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ธงชัย แก้วกิริยา. 2553. E-Learning ก้าวไปสู่ M-Learning ในยุคสังคมของการสื่อสารไร้พรมแดน. วารสารร่มพฤกษ์, 28(1), น.112–136.
[3] Gaddes F. 2006. Mobile Learning in the 21st Century : Benefit for Learner [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.knowledgetree. flexiblelearning.net.au/edition06/download/gaddes.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2556).
[4] M-Learning. ความทันสมัยทางการศึกษา ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2557 จาก https://www.gotoknow.org/posts/288100
[5] มนต์ชัย เทียนทอง. 2545. การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำรา เรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] สาวิตรี อารีย์. 2550. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พันธุกรรม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[7] เยาว์ลักษณ์ เวชศิริ. 2548. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องหลักการแก้ปัญหาและการ โปรแกรมพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[8] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ.2542.ระบบสื่อสารการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
[9] วิทวัฒน์ ขัดติยมาน และฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. 2557. การปรับปรุงจุดมุ่งหมายทางการศึกษาของบลูม (Revised Bloom’s Taxonomy).[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.watpon.com/journal/bloom.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2556).
[10] อนุชา วิปุลากร. 2552. การพัฒนาสื่อเสริมแบบ โมบายเลินนิ่ง เรื่อง ข้อปฏิบัติในการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี สำหรับการสอน ทางไกล ของมหาวิทยาลัยทักษิณ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[11] พงศ์นรินทร์ เลิศรุ้งพร. 2547. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบ Mobile Learning สำหรับคอมพิวเตอร์มือถือ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[12] ประกายรัตน์ สุวรรณ. 2555. การพัฒนาแอพพลิเคชันสื่อการสอนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่. รายงานการวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม.
[13] ประไพพิศ เกษมพานิช. 2554. การพัฒนา รูปแบบการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ Mobile Learning. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[14] ธรรมนูญ เกษมศรีวิทยา อรรถพร ฤทธิเกิด และฉันทนา วิริยเวชกุล. 2557. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทบทวน เรื่อง การเขียน โปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับไมโครคอน โทรเลอร์ พีไอซี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2),น. 153-158.