บทเรียนช่วยสอนเพื่อทบทวน เรื่องลอจิกฟังก์ชัน บนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนช่วยสอนเพื่อทบทวน เรื่องลอจิกฟังก์ชัน บนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องฟังก์ชันลอกจิกก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนช่วยสอนเพื่อทบทวนเรื่องลอจิกฟังก์ชัน บนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร ที่ลงทะเบียนวิชาดิจิตอลเบื้องต้น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน โดยเลือกจากจำนวนประชากรทั้งหมด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนช่วยสอนเพื่อทบทวน เรื่องฟังก์ชันลอจิกบนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนช่วยสอนเพื่อทบทวน เรื่องฟังก์ชันลอจิก บนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยแบ่งออกเป็นแบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและแบบประเมินคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยบทเรียนช่วยสอนเพื่อทบทวน เรื่องฟังก์ชันลอจิก บนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.40 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.60 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของบทเรียนช่วยสอนเพื่อทบทวน เรื่องลอจิกฟังก์ชัน บนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่สร้างขึ้น ด้านเนื้อหามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (= 4.60, S.D. = 0.17) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (
= 4.77, S.D. = 0.26) 2) บทเรียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ E 1 /E 2 เท่ากับ 81.22/81.78 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] นุชบา นิ่มคุ้ม. 2552. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทบทวนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยีสาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์(คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Nimkum, N. 2009. Development of Web-Based Instruction for Tutorial in Career and Technology Substance 4 Information Technology for Level 2 Prathomsuksa 5. Thesis in Master Degree of Science in Science Education (Computer), Faculty of Industrial Education King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
[3] พรเทพ เมืองแมน. 2544. การออกแบบและพัฒนา CAI Multimedia ด้วย Authorware. กรุงเทพฯ: เอช.เอ็น.กรุ๊ป .
[4] สาวิตรี สามปลื้อม. 2550. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย วิชาพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ดิจิตอล สำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[5] Robert M. Gagne, 1970. The Condition of Learning. NewYork Holt, Rinehart and Winston.
[6] เฉลิม วงค์แก้ว. 2552. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทบทวน วิชาวิจัยทางการศึกษา เรื่องการกำหนดประชากร กลุ่ม ตัวอย่าง สำหรับนักศึกษาปริญญาโท คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Wongkeaw, C. 2009. Development of Tutorail Computer Assisted Instruction in Education Research Entitled Population and Sample for Master Degree Students of Faculty of Industrial Education King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. Thesis in Master Degree of Science in Science Education Computer), Faculty of Industrial Education King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
[7] จารุวรรณ จันทร์ทอง. 2551. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อทบทวน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต.สาขาวิขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
[8] อันชรี ไชยนุช. 2555. บทเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตแบบทบทวนวิชาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[9] อภิญญา ศรีจันทร์. 2557. ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหวสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), น.120-127.
Apinya, S. 2014 The Results Of Using Online Lessons on The Creation Of Animation For Matthayom Sueksa Tree Students. Journal of Industrial Education,13(3), p. 120-127.