การศึกษาปัจจัยในการออกแบบชุดชั้นในเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ชาย วัยสูงอายุ

Main Article Content

ดณุพล นาแพร่
สมชาย เซะวิเศษ
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ชายวัยสูงอายุ 2) เพื่อพัฒนาชุดชั้นในชายสำหรับวัยสูงอายุสวมใส่เพื่อสุขภาพที่ดี และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคผู้ชายวัยสูงอายุ ที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในชาย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ เพศชายอายุ 25 - 50 ปี จำนวน 30 คน เพศชายก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีอายุระหว่าง 51 - 59 ปี จำนวน 8 คน เพศชายวัยสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และชลบุรี ใช้เกณฑ์การคัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ร่วมกับกรอบแนวความคิดเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment) การแก้ปัญหาเชิงประดิษฐกรรม (Theory of Inventive Problem Solving) การกำหนดคุณสมบัติพิเศษของสินค้า (Brand Positioning) หลักการวิศวกรรมย้อนรอย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบประเมินผลการออกแบบ เพื่อสร้างต้นเเบบผลิตภัณฑ์เเละประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ โดยใช้วิธีการทางสถิติ ได้เเก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\overline{x}) เเละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อการสรุปผล


ผลการวิจัยพบว่า 1) เพศชายวัยสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ไม่สวมใส่ชุดชั้นในคิดเป็นร้อยละ 50 และที่สวมใส่จะเป็นรูปแบบบ็อกเซอร์ (Boxer) คิดเป็นร้อยละ 20 ขนาดรอบเอวส่วนใหญ่ คือ ขนาด 30 - 33 นิ้ว (Size L) คิดเป็นร้อยละ 33 เนื้อผ้าที่นิยมเป็นผ้าคอตตอน (Cotton) คิดเป็นร้อยละ 30 โทนสีที่ชอบคือ สีขาว สีเทา สีดำคิดเป็นร้อยละ 33 โรคที่เกี่ยวข้องกับชุดชั้นในที่พบมากในผู้สูงอายุ คือ โรคระบบทางเดินปัสสาวะคิดเป็นร้อยละ 60 2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในชาย สรุประดับความคิดเห็น ได้ค่าคะแนนชุดชั้นในเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ชายวัยผู้สูงอายุ คือ รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมาก (gif.latex?\overline{x}= 3.82, S.D. = 0.07) 3) ความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคผู้ชายวัยสูงอายุ จำนวน 30 คน ที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในเพื่อสุขภาพ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\overline{x}= 4.06, S.D. = 0.12)

Article Details

How to Cite
นาแพร่ ด., เซะวิเศษ ส., & เอกวุฒิวงศา ท. (2016). การศึกษาปัจจัยในการออกแบบชุดชั้นในเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ชาย วัยสูงอายุ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 136–142. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122275
บท
บทความวิจัย

References

[1] Pornphanh. 2012. History of Underwear. Retrieved November 27, 2015, from https://teen.mthai.com /variety/53880.html

[2] พวงทอง ไกรพิบูลย์. 2557. การดูแลผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2558, จาก https://haamor.com/th/ การดูแลผู้สูงอายุ/#article110

[3] อนุพงศ์ วิบูลย์ศิริชัย. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศกรณีศึกษาในเขต เทศบาลเมืองจังหวัดเพชรบุรีวารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(พิเศษ), น. 203-210.
Wiboonsirichai, A. 2011. Influencing Buying Decision Process Factors of Air-Conditioner A Case Study In Phetchburi Province, Town Municipality District. Journal of Industrial Education, 10(Special), p. 203-210.

[4] ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. 2557. หลักการคิดวิเคราะห์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : มีนเซอร์วิสซัพพลาย.

[5] Mizuno, S. and Akao, Y. 1994. QFD The Customer Driven Approach to Quality Planning and Deployment. Tokyo : Asian Productivity Organization.

[6] ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์. 2550. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดย TRIZ. กรุงเทพฯ :สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น).

[7] Kotler, P. 1994. Marketing Management : Analysis, Planning, Implementation, and Control. New Jersey : Prentice-Hall.

[8] มณฑลี ศาสนนันทน์. 2550. การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและวิศวกรรมย้อนรอย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.