การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและ แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ณัฐมน สุชัยรัตน์
วิชัย เสวกงาม
เอกรัตน์ ทานาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 2 เป็นการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 50 คน โดยเป็นห้องทดลอง 1 ห้อง และห้องควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้  ผลการวิจัยพบว่า1) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกำหนดสถานการณ์ (2) ขั้นสร้างและทดสอบแบบจำลอง (3) ขั้นโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ (4) ขั้นสรุปความรู้ (5) ขั้นนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ 2) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ดังนี้ (1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สุชัยรัตน์ ณ., เสวกงาม ว., & ทานาค เ. (2016). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและ แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 106–113. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122270
บท
บทความวิจัย

References

[1] UNESCO. 2011. Science education policy-making. Retrieved April 5, 2015, from https://unesdoc.unesco.org/images/0015/001567/156700E.pdf

[2] Zeinedd in A. and Abd-El- Khalick, F. 2010. Scientific reasoning and epistemological commitments: Coordination of theory and evidence among college science students. Journal of Research in Science Teaching, 47(9), p. 1064-1093.

[3] Beyer, C.J. and Davis, E.A. 2008. Fostering second graders' scientific explanations: A beginning elementary teacher's knowledge, beliefs, and practice. Journal of the Learning Sciences, 17(3), p. 381-414.

[4] Mercier, H. and Sperber, D. 2011. Why do humans reason? Arguments for an argumentative theory. Behav Brain Sci, 34(2), p. 57-111.

[5] Hunter, M. 1995. Teacher for transfer. CA: Corwin.

[6] Schunk, D.H. 1991. Learning theories an educational perspective (Vol. 26). New York: Merill.

[7] Piraksa, C., Srisawasdi, N., and Koul, R. 2014. Effect of gender on student's scientific reasoning ability: A case study in thailand. Procedia - Social and Behavioral Sciences,116, p. 486-491.

[8] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ: สกศ.

[9] Windschitl, M., Thompson, J., and Braaten, M. 2008. Beyond the scientific method: Model-based inquiry as a new paradigm of preference for school science investigations. Science Education, 92(5), p. 941-967.

[10] Bennett, J. 2005. Bringing science to life: The research evidence on teaching science in context. U.K.: University of York.

[11] ทิศนา แขมมณี. 2551. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

[12] Schwarz, C.V., et al. 2009. Developing a learning progression for scientific modeling: Making scientific modeling accessible and meaningful for learners. Journal of Research in Science Teaching, 46(6), p.632-654.

[13] Campbell, T., Zhang, D., and Neilson, D.2011. Model based inquiry in the high School physics classroom: An exploratory study of implementation and outcomes. The Journal of Science Education and Technology 20(3), p. 258-269.

[14] Walker, J., et al. 2010. Argument driven inquiry: an instructional model for use in undergraduate chemistry labs. In Annual International Conference of the National Association of Research in Science Teaching (NARST).

[15] De Jong, O. 2008. Context-based chemical education: How to improve it. Chemical Education International, 8(1), p. 1-7.

[16] Johnson, A.F., and Rutherford, S. 2010. Transfer of knowledge in science courses For elementary education majors. Journal Of College Science Teaching, 39(4), p. 80-88.

[17] พรพรรณ ธาราแดน พรรณี ลีกิจวัฒนะ และ ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. 2556. ตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น.126-133.
Taradan, P., Leekichwattana, P., and Tungkunanan, P. 2013. Variables effecting on computer achievement of Prathomsuksa 5 students of Assumption College Thonburi. Journal of Industrial Education, 12(2), p.126-133.

[18] Mestre, J.P. 2002. Probing adults' conceptual understanding and transfer of learning via problem posing. Journal of Applied Developmental Psychology, 23(1), p. 9-50.

[19] อารี พันธ์มณี. 2546. จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหม เอดดูเคท.

[20] Kuhn, J. and Müller, A. 2014. Context-based science education by newspaper story problems: A study on motivation and learning effects. Perspectives in Science,2(1-4), p. 5-21.