การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบในงานออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับ นิสิตสถาปัตยกรรมชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

พิทาน ทองศาโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบในงานออกแบบสถาปัตยกรรม สำหรับนิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นิสิตหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 01240271 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถาปัตยกรรม ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 25 คน ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ Basic Practice ของเมอร์ฟีย์ เวล และแมคกรีล (Murphy,Weil and Mcgreal) วัตถุประสงค์การผ่านเกณฑ์ของผู้เรียนพิจารณาจากผลการประเมินของผลงานโครงการบ้านพักอาศัย 2 ชั้นที่นิสิตต้องทำงานในตอนท้ายของรายวิชา โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 เรื่องของการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ Autodesk AutoCAD 2011 ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของ บริษัท Autodesk ด้านที่ 2 เรื่องการจัดการหน้ากระดาษ และรูปแบบการเขียนแบบก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่ถูกต้องตามหลักการเขียน ด้านที่ 3 ความถูกต้องของแบบก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคารในส่วนของอาคารพักอาศัย 2 ชั้น


ผลการวิจัยพบว่า นิสิตทั้งหมดผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินทุกคน คือมีคะแนนมากกว่า 25 คะแนน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า ด้านที่ 1 มีนิสิตผ่าน 16 คน หรือร้อยละ 64 ด้านที่ 2 ผ่าน 13 คน หรือร้อยละ 52 และด้านที่ 3 ผ่าน 23 คน หรือร้อยละ 92 ซึ่งเป็นผลมาจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาจากการที่นิสิตมีประสบการณ์ในการเรียนรู้น้อย และการพัฒนาทักษะยังมีเวลาในการศึกษาไม่มากพอ รวมทั้งควรมีการเพิ่มเติมการพัฒนาทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบในรายวิชาอื่นๆ ของหลักสูตรเช่น วิชาออกแบบ วิชาโครงสร้างอาคาร เป็นต้น

Article Details

How to Cite
ทองศาโรจน์ พ. (2016). การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบในงานออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับ นิสิตสถาปัตยกรรมชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 59–66. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122263
บท
บทความวิจัย

References

[1] พิทาน ทองศาโรจน์.(2558, 1 สิงหาคม). รายวิชา 01240271 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถาปัตยกรรม. เอกสารประมวลการเรียนการสอน (Course Syllabus) หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (เอกสารอัดสำเนา).

[2] พิทาน ทองศาโรจน์. 2559. การสร้างงานสถาปัตยกรรมด้วยเทคโนโลยีทาง BIM ฉบับเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[3] ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.(ม.ป.ป.) หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2558. (เอกสารอัดสำเนา).

[4] ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม-ศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ม.ป.ป.) ตารางเรียนนิสิตปริญญาตรี ภาคต้น ปีการศึกษา 2558. (เอกสารอัดสำเนา).

[5] ทิศนา แขมณี. 2553. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[6] Autodesk inc. 2015. Autodesk AutoCAD 2015 Certification Roadmap. Retrieved August 1, 2015, from https://static-dc.autodesk.net/content/dam/autodesk/www/industries/education/docs/Autodesk_AutoCAD_2015_Certification_Roadmap.pdf

[7] Autodesk inc. 2015. Questions and Answers about Autodesk Certification. Retrieved August 1, 2015, from https://static-dc.autodesk.net/content/dam/autodesk/www/trainingcertification/prof_cert_q_a_11v7.pdf

[8] เจริญ เสาวกาณี. 2548. งานเขียนแบบก่อสร้าง1. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.

[9] สมาคมสถาปนิกสยามฯ. 2549. คู่มือมาตรฐานการขียนแบบก่อสร้าง ฉบับ 2549. (ม.ป.ท.): (ม.ป.พ.).

[10] สุขสม เสนาบาญ. 2545. เขียนแบบก่อสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ส.ส.ท.

[11] กรมโยธาธิการและผังเมือง. (ม.ป.ป.) พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522. ค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2558, จากhttps://www.dpt.go.th/krabi/main/images/stories/file_pdf/control%20a%20building2522.pdf

[12] ทิศนา แขมณี. 2553. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[13] ฐิติยา เนตรวงษ์. 2557.การพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและจิตอาสาด้วยการเรียนแบบผสมผสานและโครงการ รับใช้สังคมเป็นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13 (3), น.59 -65.
Netwong,T. 2014. Development of Information Technology Literacy and Volunteers by Using Blended Learning and Society Service Project Based Learning. Journal of Industrial Education,13(3), 59 - 65.