การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง Past Tense สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพรตพิทยพยัต

Main Article Content

รัตตินันท์ กลัดล้อม
อัคพงศ์ สุขมาตย์
ผดุงชัย ภู่พัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง Past Tense
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Past Tense สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพรตพิทยพยัต ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนพรตพิทยพยัต เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT จำนวน 8 คาบที่ผ่านการหาคุณภาพเครื่องมืออยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\overline{x} = 4.61) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.45-0.60ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.80 –1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test แบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง Past Tense สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.86/80.88 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง Past Tense หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
กลัดล้อม ร., สุขมาตย์ อ., & ภู่พัฒน์ ผ. (2016). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง Past Tense สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพรตพิทยพยัต. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 37–43. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122254
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ.2553. พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

[2] กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 .หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

[3] สถาบันการทดสอบการศึกษาแห่งชาติ.2556.ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2555.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ดุสิต

[4] วิชัย วงษ์ใหญ่.2552. จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา:กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

[5] โชคสุวิชัย สุภาพาส.2554. ผลการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เรื่องเส้นขนานที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์และ ความสามารถในการคิดแบบสังเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[6] ถวัลย์ มาศจรัส.2546. ปทานุกรมปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

[7] ศศิพิมพ์ นิตโย. 2554.การหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่อง Prepositionของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[8] มาริสา แสนสุข.2558. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในกิจกรรม การเรียนรู้แบบวัฏจักร (4MAT) เรื่องกฎหมายกับการดำเนินชีวิตประจำวัน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม. วารสารมหาวิทยาลัย นครพนม, 5(1), น.99-106.