การจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทในกลุ่ม ซากุระ อินดัสทรี้ ประเทศไทยและประเทศเวียดนาม

Main Article Content

บลประภา สืบญาติ
สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง ในกลุ่มบริษัท ซากุระ อินดัสทรี้ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังในกลุ่มบริษัท ซากุระ อินดัสทรี้ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานของบริษัทในกลุ่ม ซากุระ อินดัสทรี้ ประเทศไทยและประเทศเวียดนาม จำนวน 291 คนโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในการทดสอบสมมติฐาน  ผลการวิจัยพบว่า  


1) พนักงานในกลุ่มบริษัทซากุระ อินดัสทรี้ ประเทศไทยและประเทศเวียดนาม มีระดับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก       


2) พนักงานในกลุ่มบริษัทซากุระ อินดัสทรี้ ประเทศไทยและประเทศเวียดนามที่มีแผนกที่สังกันแตกต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพนักงานที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานที่มีเพศ ประสบการณ์การทำงานและโรงงานที่สังกัดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
สืบญาติ บ., คูหาสวรรค์เวช ส., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2015). การจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทในกลุ่ม ซากุระ อินดัสทรี้ ประเทศไทยและประเทศเวียดนาม. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 24–30. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122185
บท
บทความวิจัย

References

[1] บริษัท ซากุระ อินดัสทรี้ (ประเทศไทย) จำกัด. 2556. รายงานประจำปี ฝ่ายควบคุมการผลิต. (ม.ป.ท.)

[2] Jame R.Stock and Douglas M. Lambert. 2001. Strategic Logistic Management. (N.P.): McGraw-Hill Company, Inc.

[3] ธนิต โสรัตน์. 2552. คู่มือการจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า. กรุงเทพฯ: ประชุมทอง พริ้นติ้ง.

[4] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

[5] กมลชนก เขียวแก้ว. 2555. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัท เอส แอนด์ วี คอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิสเน็ทเวิร์ค จำกัด.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

[6] วิชัย ศรีมาวรรณ์. 2557. ยุทธศาสตร์การบริหารการจัดการองค์กรเชิงบูรณาการและภาวะผู้นำยุคใหม่แห่งทศวรรษที่ 21: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้บริหารของสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), น.191-199.

[7] ฐิตารีย์ สาริกัน. 2553. ประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สาขาบางปู. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

[8] พิเชษฐ์ สรรพนา. 2546. ปัญหาระบบบริหารงานสินค้าคงคลังในร้านสาขา กรณีศึกษา บริษัท นโยบายอีเทรดติ้ง จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

[9] บุญทรัพย์ พาณิชการและคณะ. 2549. ผู้นำในการบริหารจัดการโลจิสติกส์. กรุงเทพฯ: ไอทีแอล เทรด มีเดีย บจก.