การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกด้วยบทเรียน อีเลิร์นนิ่ง เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

พฤทธิวรรณ ช่วงพิทักษ์
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ 2) พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยีให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการนำเสนอของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนชลกันยา- นุกูล ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยการจับสลากจำนวน 2 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี 2) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี 3) บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี 4) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี และ 5) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการนำเสนอของนักเรียนที่เรียน เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี ซึ่งมี ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 แสดงว่า แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการนำเสนอมีความสอดคล้องและค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบระหว่างผู้ประเมิน 2 คน ด้านกระบวนการปฏิบัติ เท่ากับ 0.838 และด้านผลการปฏิบัติ เท่ากับ 0.916 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for dependent samples


ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง การนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (  gif.latex?\bar{x}= 4.65) 2) บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี มีคุณภาพด้านเนื้อหา โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 5.00) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 4.44) ผลประสิทธิภาพเท่ากับ 84.00/87.08 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการนำเสนอ เรื่อง การนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ช่วงพิทักษ์ พ., กันตาธนวัฒน์ ฐ., & ตั้งคุณานันต์ ป. (2017). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกด้วยบทเรียน อีเลิร์นนิ่ง เรื่องการนำเสนอข้อค้นพบด้วยสื่อเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(2), 89–96. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/120424
บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of The Nation Economic and Social Development Board. 2017. The 12th Nation Economic and Social Development Plan. Bangkok. Sahamit Printing and Publishing.

[2] Bergmann, J. and Sams, A. 2012. "Why Flipped Classrooms Are Here to Stay." Education Week. 45 (2) : p.17-41.

[3] Meyers, C. and Jones, T. B. 1993. Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco : Jossey-Bass.

[4] Thansuda Jirakittiyakorn. 2012. Active Learning. Retrieved July 12, 2016,from https://www.pr-network.in.th

[5] Suttisak Kleubsongnern. (2016, September 28). Problem in Communication and Presentation subject. [Interview by Puttiwan Chuangpitak].

[6] Suwit Mulkum and et al. 2008. Write lesson plan emphasize thinking. Bangkok : EK Book.

[7] Simone, R. L., Werner, J. M., and Harris, D. M. 2002. Human resource development. 3 rd ed. Harbor Drive Orlando : Harcourt College.

[8] Pairoj Teeranatanakul and team. 2003, Design and manufacture CAI for e-Learning.Bangkok : Sun Sue Some Krungthep.

[9] Chaiyong Brahmawong and et al. 2007. Innovation and Technology and Innovation for Learning. Retrieved July 12, 2016, from https://www.portal.in.th

[10] Suvimol Wongvanich. 2007. Measurement and evaluation.Bangkok : Publisher of Chulalongkorn University.

[11] Nawapat Kemkaman. 2015. The effect of Flipped Classroom Instruction with e-Learning Courseware on Achievement of Information Technology II Subject for Grade 10 Students. Master Degree of Science Program in Computer Education, Faculty of Industrial Education, King Mongkut’ s Institute of Technology Ladkrabang.

[12] Piyapon Kanta. 2015. The Effect of Blended Learning on Achievement of ScratchProgramming for Grade 11 Students. Master Degree of Science Program in Computer Education, Faculty of Industrial Education, King Mongkut’ s Institute of Technology Ladkrabang.

[13] Kamonchat KlomImm and et al. 2015. The Development of Constructivist Theory By Enhancingthe Potential to promote Mathematical Process for Problem Solving Skill for Grade7 Students. Journal of Education Naresuan University. 16(2), p.129-139.