การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการใช้งาน ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีต่อแรงจูงใจในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2) สร้างโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจต่อการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ในจังหวัดตรัง จำนวน 400 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้จากตารางสําเร็จรูปของทาโร ยามาเน่ วิธีสุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติดังนี้ การแจกแจงความถี่ของข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย วิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Model : SEM) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในภาพรวม พบว่า ให้ความสำคัญระดับมาก ปัจจัยความไว้วางใจในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในภาพรวม พบว่า ให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด ปัจจัยคุณภาพในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในภาพรวม ให้ความสำคัญในระดับมาก โมเดลสมการเชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีต่อแรงจูงใจในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตรง พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า Chi – Square = 90.303 df = 106 Sig. = 0.862 > 0.05 และ CMIN/df. = 0.852 < 5.0 ถือว่าผ่านเกณฑ์ ตัวแปรปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ตัวแปรปัจจัยคุณภาพในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ตัวแปรปัจจัยความไว้วางใจในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อการตัดสินใจใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สามารถอธิบายสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีต่อแรงจูงใจในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ร้อยละ 97.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Pongsak Kongsub. 2009. Factor Affecting The Selection of ADSL Internet Service Providerin Bangkok Area. A Thesis of Master of Science Department of Telecommunications Management Graduate School, Dhurakij Pundit University.
[3] Somboon Theerawisitpong. 2012. Fiber optic communication. Bangkok: Se-Education.
[4] Yamane, T. 1973. Statistic: An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York: Harper and Row.
[5] Phusanisa Yoongtong Phadungchai Pupat and Tiwat Maneechote. 2013. Development of Causal Model of Classroom Research Competency of Teachers under The Office of Vocational Education Commission. Journal of Industrial Education, 12(3), pp. 47-54.
[6] Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row Publishers.
[7] Kotler, P. 2000. Marketing Management. Upper Saddle River NJ: Prentice Hall.
[8] Dietz, G., Hartog, D. & Deanne N. 2006. Measuring trust inside organizations. Personnel Review, 35(5), pp. 557-588
[9] Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. 1985, Fall. A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, pp. 41 - 50.
[10] Kotler, P. 2003. Marketing management. Thanawan Sangsuwan, et al. Bangkok: Pearson Education Indochina.
[11] Seri Wongmontha. 1999. Marketing Strategy: Marketing Planning Process.Bangkok: Theera Film & Scitex.
[12] Adul Jaturongkul. 2000. Marketing Strategy. Bangkok: Thammasat University.
[13] Siriwan Sareerat, et al. 2001.Principle of Marketing. Bangkok: Theera Film & Scitex.