การวิเคราะห์ต้นทุนในกระบวนการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ภัทรพล ทรานสปอร์ต จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงข้อมูลค่าใช้จ่ายระหว่างการลงทุนซื้อรถบรรทุก 10 ล้อและลูกพ่วง กับการจัดจ้างผู้รับเหมาขนส่งจากแหล่งภายนอก (2) เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถบรรทุก 10 ล้อ และลูกพ่วงเพื่อทดแทนการจ้างผู้รับเหมาขนส่งหรือรถร่วมจากแหล่งภายนอก (3) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำหรับปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณต้นทุนในการตัดสินใจซื้อรถบรรทุก โดยบริษัทกรณีศึกษาซึ่งดำเนินธุรกิจขนส่งมากว่า 10 ปี ต้องการแนวทางที่หลากหลายเพื่อพิจารณาการลงทุนให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและไม่สะดุด เนื่องจากมีสัญญาจ้างงานระยะเวลา 3 ปีที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นในการประมูลงานครั้งต่อไป การศึกษาได้ออกแบบแนวทางการตัดสินใจ 6 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การลงทุนซื้อรถบรรทุกสิบล้อมือหนึ่ง 7 คัน 2) การลงทุนซื้อรถมือสอง 7 คัน 3) การจัดจ้างบริการขนส่งภายนอก 7 คัน 4) การผสมผสานระหว่างการซื้อรถมือหนึ่ง 4 คันกับการจ้างรถร่วม 3 คัน 5) การซื้อรถมือสอง 4 คันร่วมกับการจ้างรถภายนอก 3 คัน 6) การใช้รถบริษัททั้งหมดโดยจ้างขนส่งภายนอกเฉพาะวันที่รถไม่เพียงพอ โดยการวิเคราะห์ครอบคลุมทั้งด้านต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ค่าเสื่อมราคา ค่าบำรุงรักษา และผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว ผลการวิเคราะห์พบว่า แนวทางที่เหมาะสมที่สุดคือการลงทุนซื้อรถบรรทุกสิบล้อมือสองสภาพประมาณ 80% จำนวน 4 คัน โดยใช้รถของบริษัทเองเพิ่มเติมอีก 3 คัน เนื่องจากสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถพลิกสถานการณ์จากการขาดทุนเฉลี่ย 67,976 บาทต่อเดือน เป็นมีกำไรเฉลี่ย 184,024 บาทต่อเดือน คิดเป็นผลตอบแทนการลงทุนที่ร้อยละ 15.3 ต่อปี นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจในระยะยาว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2551).การจัดการต้นทุนโลจิสติกส์.กรุงเทพฯ:โฟกัสมีเดียแอนด์พับลิซซิ่ง
อัฑฒ์ พุ่มตระกูล. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างการจ้างรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์และการจัดซื้อมาดำเนินการเองของ บริษัท ไทซันวู้ดเอ็กซ์ปอร์ต จำกัด. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 3(2), 84-98
พงศธร ศิริพงษ์ชัย. (2559). การวิเคราะห์เปรียบเทียบการลงทุนระหว่างการซื้อรถบรรทุกและการใช้บริการ Third Party ในธุรกิจขนส่งไม้ท่อน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวชิาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยบูรพา
กิจการยาง. (2563). ยางรถบรรทุกชลบุรี.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.kitkarnyang.com
ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. (2540). เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ กรุงเทพมหานคร ภาควิชา เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คงเดช ทรงแสง. (2558). บทความโครงสร้างต้นทุนค่าขนส่งรถบรรทุกและค่าเสื่อม. งานนิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
กรมการขนส่งทางบก. (2559). อัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: ttps://www.dlt.go.th/th/dlt-knowledge/106/