การพัฒนานวัตกรรมสื่อดิจิทัลตามหลักศึกษาบันเทิงเพื่อส่งเสริมความรู้ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อดิจิทัลตามหลักศึกษาบันเทิงเพื่อส่งเสริมความรู้ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมสื่อดิจิทัลตามหลักศึกษาบันเทิงเพื่อส่งเสริมความรู้ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง 3) เพื่อศึกษาการยอมรับนวัตกรรมสื่อดิจิทัลตามหลักศึกษาบันเทิงเพื่อส่งเสริมความรู้ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงในกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 40 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินการยอมรับนวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรมสื่อดิจิทัลตามหลักศึกษาบันเทิงเพื่อส่งเสริมความรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยส่งเสริมความรู้ได้ดี ผลการประเมินประสิทธิภาพจากเชี่ยวชาญ 5 ท่าน ภาพรวมอยู่ในระดับดี (𝑥̅ = 4.36, S.D. = 0.55) ผลการยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้ที่มีต่อนวัตกรรมสื่อดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅ = 4.53, S.D. = 0.56)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2. กรกฎาคม - ธันวาคม 2560. หน้า 367-387
สายสุนีย์ จับโจร, สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย, ธิดานุช พุทธสิมมา และ เบญจภัค จงหมื่นไวย์. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับโต้ตอบกับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือน. กรกฎาคม – ธันวาคม 2563. หน้า 47-58
อิงอร วงษ์ศรีรักษา และบรรเจิด ผลงาม. (2564). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ไหว้พระ 9 วัด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม – กันยายน 2564. หน้า 25-37
ดาวรถา วีระพันธ์และณัฐรดี อนุพงศ์. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติ เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(3), 61-72.
จุฬาวลี มณีเลิศ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2564. หน้า 83-94