การศึกษาศักยภาพและประเมินทางเศรษฐศาสตร์พลังงานของการใช้ระบบทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศร่วมกับระบบทำความเย็นแบบระเหยในโรงเรือนปลูกสตรอว์เบอร์รี่

Main Article Content

ธัญญารัตน์ จันทร์โชค
สุลักษณา มงคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและประเมินเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนของระบบทำความเย็นที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบระเหยร่วมกับระบบทำน้ำเย็นในโรงเรือนปลูกสตรอว์เบอร์รี่ โรงเรือนกว้าง 12 เมตร ยาว 40 เมตร และสูง 6 เมตร คลุมโรงเรือนด้วยพลาสติกพอลิเอธิลีน มีการทำงานของระบบทำความเย็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การทำงานโดยใช้ระบบทำความเย็นแบบระเหยเพียงอย่างเดียว (EV) และระบบทำความเย็นแบบร่วมกัน (EV+CH) จากการศึกษาศักยภาพของระบบทำความเย็นที่ใช้ในโรงเรือนต้นแบบ ในแต่ละเดือนที่ทำการศึกษาพบว่า ค่าความเข้มรังสีอาทิตย์ (IT) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของวันอยู่ที่ระหว่าง 600-700 วัตต์ต่อตารางเมตร โดยช่วงเดือนมีนาคม 2565 มีค่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยภายในโรงเรือนสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2565 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 32 องศาเซลเซียส ซึ่งค่าที่ได้ยังไม่สามารถลดอุณหภูมิอากาศได้ตลอดในทุกช่วงเวลาตามที่สตรอว์เบอร์รี่ต้องการให้ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส สำหรับค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะของระบบทำความเย็นพบว่า ในการใช้งานระบบทำความเย็นแบบ EV+CH มีค่าเท่ากับ 17 ซึ่งมีค่าสูงกว่าการใช้งานระบบทำความเย็นแบบ EV ที่มีค่าเท่ากับ 14 สำหรับการศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนของระบบทำความเย็นที่ใช้ในโรงเรือนโดยทำการศึกษา 4 กรณี โดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันทั้งในการเพิ่มรอบเพาะปลูกหรือบางกรณีมีการเพิ่มรางปลูกพบว่า หากมีการเพิ่มรอบเพาะปลูกสตรอว์เบอร์รี่และเพิ่มรางปลูกจะมีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีค่า NPV และค่า IRR สูงที่สุดซึ่งมีค่าอยู่ที่ 909,854 บาท และ 20.78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีระยะเวลาคืนทุน 4 ปี 6 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดที่สามารถคืนทุนได้เร็วกว่ากรณีอื่นๆ

Article Details

How to Cite
จันทร์โชค ธ., & มงคล ส. (2023). การศึกษาศักยภาพและประเมินทางเศรษฐศาสตร์พลังงานของการใช้ระบบทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศร่วมกับระบบทำความเย็นแบบระเหยในโรงเรือนปลูกสตรอว์เบอร์รี่. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 10(2), 28–43. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/253885
บท
บทความวิจัย

References

นำโชค บุญมี, พัฒนา สุขประเสริฐ, สุวิสา พัฒนเกียรติ และ ศิรส ทองเชื้อ, “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการปลูกสตรอว์เบอร์รี่อย่างยั่งยืนของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่”, Journal of Agriculture, CMU, 37(3), 2564, pp. 327–336.

ชัยวัฒน์ ยิ้มช้าง. (2566, มิถุนายน. 18). ระบบการทำความเย็นแบบระเหย (Evaporative cooling), [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://ph02.tci- thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/25459/21632

ภานุวิชญ์ พุทธรักษา และ สุลักษณา มงคล. “การเพิ่มศักยภาพการทำความเย็นบริเวณทรงพุ่มสตรอว์เบอร์รี่โดยการทำความเย็นแบบระเหยร่วมกับการบังคับทิศทางอากาศใต้รางปลูกและท่อน้ำเย็น”. The 13th International Conference on Ecomaterials 2017 (ICEM13). pp. 152-158. 2560.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2566, มิถุนายน. 12). ภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://climate.tmd.go.th/data/province/เหนือ/ภูมิอากาศเชียงใหม่.pdf

P. W. Sunu, D. A. Simon, I. M. Rasta, Y. B. Lukiyanto, I. D. M. Susila, and I. K. Suarsana, “Effect of Various Superheat Condition on Working Condition of Air Cooled Chiller”. International Conference on Applied Science and Technology (iCAST). 2018.

O. Amer, R. Boukhanouf, and H. G. Ibrahim, “A Review of Evaporative Cooling Technologies”, International Journal of Environmental Science and Development, 6(2), 2015, pp. 111-117.

F.W. Yu, and K.T. Chan, “Tune up of the set point of condensing temperature for more energy efficient air cooled chillers”, Energy Conversion and Management, 47, 2006, pp. 2499–2514.

X. Xie, and Y. Jiang, “Comparison of Two Kinds of Indirect Evaporative Cooling System : To Produce Cold Water and To Produce Cooling Air”, Procedia Engineering, 121, 2015, pp. 881-890.

K.T. Chan, and F.W. Yu, “Applying condensing-temperature control in air-cooled reciprocating water chillers for energy efficiency”, Applied Energy, 72, 2002, pp. 565–581.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2566, มิถุนายน. 24). ระบบปรับอากาศ, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www2.dede.go.th/bhrd/old/Download/file_handbook/Pre_Fac/Fac_15.pdf

สราวุธ พลวงษ์ศรี, Air Conditioning System, RE 423 Energy Conservation and Management in Building and Factory, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2562.

สราวุธ พลวงษ์ศรี, Assessment of economic value, RE 421 Economics and Energy Business Planning, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2562.

กรมวิชาการเกษตร, วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชในโรงเรือนระบบปิดแบบอัจฉริยะ [รายงานผลวิจัยเรื่องเต็ม], 2565.

ปรีดา นาเทเวศน์ และ สิริวัฒน์ สาครวาสี, การพัฒนาระบบการระบายความร้อนวัสดุปลูกเพื่อการผลิต สตรอว์เบอร์รี่นอกฤดู [รายงานผลการวิจัย], เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2555.

Weather Spark. (2566, มิถุนายน. 10). ภูมิอากาศและสภาพอากาศเฉลี่ยตลอดปีที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://th.weatherspark.com/y/149062/สภาพอากาศโดยเฉลี่ย-ที่-ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่-ไทย-ตลอดปี

T. Janchoke, and S. Mongkon. “Performance Study of an Evaporative Cooling System Combined with a Chiller System for a Strawberry Greenhouse”. The 17th South East Asian Technical University Consortium (SEATUC 2023). pp. 135-140. 2023.

สุรเดช คิดการงาน. การใช้พลังงานไฟฟ้าตามหนังสือแจ้งค่าไฟฟ้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำเดือนธันวาคม 2564. มหาวิทยาลัยแม่โจ้: งานจัดการพลังงาน, 2564.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. อัตราการเรียกเก็บเงินรายได้ผลประโยชน์จากการใช้กระแสไฟฟ้า น้ำดิบ และน้ำประปาของหน่วยงานที่ใช้พื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2564.

ธนาคารกรุงไทย. (2566, กรกฎาคม. 17). The Chiller Life Cycle, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://krungthai.com/th/rates/viewdetail/4

Air cooled chillers. (2023, June. 23). The Chiller Life Cycle, [Online] Available: https://www.johnson controls.com/campaigns/chiller-life-cycle