ระบบสาธิตสูบน้ำบาดาลน้ำตื้นพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือน

Main Article Content

ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล

บทคัดย่อ

การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาระบบสาธิตสูบน้ำบาดาลน้ำตื้นพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือน และ 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพปริมาณน้ำที่ได้ในแต่ละช่วงเวลาของพลังงานแสงอาทิตย์กับแหล่งจ่ายไฟจากการไฟฟ้า อุปกรณ์หลักประกอบด้วยเครื่องสูบน้ำบาดาลมอเตอร์กระแสตรงขนาด 300 วัตต์ ร่วมกับแผงโซล่าเซลล์ขนาด 400 วัตต์ จำนวน 1 แผง ติดตั้งบนโครงสร้างสำหรับเคลื่อนที่ได้ขนาดความกว้าง 73.5 เซนติเมตร ยาว 74.5 เซนติเมตร และสูง 136.5 เซนติเมตร ตู้ควบคุมภายในติดตั้งสวิตช์ชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายขนาด 24 โวลต์ 30 แอมแปร์    เซอร์กิตเบรกเกอร์ไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางไฟฟ้ากระแสตรง (DC Surge Protector) และมอนิเตอร์แสดงค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า ปริมาณน้ำจะไหลผ่านมาตรวัดอัตราการไหล  หลังติดตั้งทดสอบการทำงานในช่วงเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ทดสอบโดยต่อระบบการไฟฟ้าผ่านสวิตช์ชิ่งเพาเวอร์   ซัพพลาย และทดสอบเชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์เพื่อเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้า บันทึกข้อมูลโดยเฉลี่ย 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้ง พบว่า การเชื่อมต่อระบบด้วยแผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพมากกว่าการเชื่อมต่อระบบการไฟฟ้าผ่านสวิตช์ชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย โดยมีค่าปริมาณน้ำสูงสุดเท่ากับ 3,771.26  ลิตรต่อชั่วโมง หรือ 25,930.03 ลิตรต่อวัน ที่อัตราการไหล 61.18 ลิตรต่อนาที ค่าปริมาณน้ำ เมื่อเชื่อมต่อระบบการไฟฟ้าผ่านสวิตช์ชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย มีค่าปริมาณน้ำเท่ากับ 2,878.20 ลิตรต่อชั่วโมง หรือ 25,903.80 ลิตรต่อวัน อัตราการไหลคงที่เท่ากับ 54.33 ลิตรต่อนาที

Article Details

How to Cite
จิตรพัฒนากุล ศ. (2022). ระบบสาธิตสูบน้ำบาดาลน้ำตื้นพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือน. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 9(2), 1–13. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/249863
บท
บทความวิจัย

References

คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ. (2563 ธันวาคม 2). น้ำบาดาล (Groundwater), [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา:

http://www.ngthai.com/science/30365/groundwater.

มณี ภาระเปลื้อง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์. ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล เป็นผู้สัมภาษณ์. (2564 กรกฎาคม 28).

ณ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลวังโตนด เลขที่ 39/3 หมู่ที่ 6 ตำบลวังโตนด อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี.

I.K. Okakwu, A.S. Alayande, D.O. Akinyele, O.E Olabode, and J.O. Akinyemi. “Effects of total system head and solar radiation on the techno-economics of PV groundwater pumping irrigation system for sustainable agricultural production. Scientific African. 16, 2022, e01118.

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. (2564 ธันวาคม 8). คู่มือโครงการส่งเสริมการเกษตรประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่. [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.agriman.

doae.go.th/home/agriman62/64_Website_Project_64/64_04_BigFarm.pdf.

M.Z. Jacobson, and V. Jadhav, “World estimates of PV optimal tilt angles and ratios of sunlight incident upon tilted and tracked PV panels relative to horizontal panel”, Solar Energy, 169, 2018, pp. 55-56.

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา”. พิมพ์ครั้งที่ 2. จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2561.

นครินทร์ รินผล. “คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เบื้องต้น”. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2559.

แฟ็คโตมาร์ท. (2564 พฤศจิกายน 6). ประเภทของ Flow Meter, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา:

https://mall.factomart.com/type-of-flow-meter

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (20 กรกฎาคม 2565). อัตราค่าไฟฟ้า-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pea.co.th/Portals/0/demand_response/Electricity%20Reconsider.pdf?ver=2018-10-01-155123-370.

R.B. Weli, R.R. Ibraheem, and K.A. Abdulla, “Water Pumping Using Solar Energy”, Journal of Science and Engineering, 3(1), 2013, pp. 35-43.

จารุวรรณ พิพัฒน์พุทธพันธ์. (2564 พฤศจิกายน 4). ตำแหน่งของทิศที่ควรติดตั้งแผงโซล่าเซลล์, แหล่งที่มา: https://www.dede.go.th/ewt_dl_link.php?nid=55175.

ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล กฤษณะ จันทสิทธิ์ และธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต. “ระบบสูบน้ำเคลื่อนที่พลังงานแสง

อาทิตย์สำหรับชุมชนฐานรากในระดับครัวเรือน”. วารสารวิชาการ เทคโนโลยีพลังงาน และสิ่งแวดล้อม, 9(1), 2565, 11-22.