การพัฒนาแอปพลิเคชันภาษาพม่าเพื่อการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันภาษาพม่าเพื่อการท่องเที่ยว 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันภาษาพม่าเพื่อการท่องเที่ยว 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันภาษาพม่าเพื่อการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้เชี่ยวขาญด้านแอปพลิเคชัน จำนวน 1 คน และผู้เชี่ยวด้านภาษาพม่า จำนวน 2 คน นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในพื้นอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 50 คน ใช้การสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินสำหรับหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันภาษาพม่า และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีลักษณะ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาแอปพลิเคชันคำศัพย์ภาษาพม่าเพื่อการท่องเที่ยวด้วยโปรแกรม Construct 2 ผลการหาประสิทธิภาพที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการประเมิน มีค่าเฉลี่ย 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34 อยู่ในระดับมาก ผลการหาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อแอปพลิเคชันคำศัพย์ภาษาพม่าเพื่อการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ย 3.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
ธีระพล ทองเปลว และวรุฒท์ พลอยสวยงาม (2560,7-8 ธันวาคม). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน.การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม, ประเทศไทย.
บาลานซ์. (2561). คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: ที.เค.พริ้นติ้ง.
ปวีณา จับแก้ว. (2557). อาเซียน เพื่อนบ้าน...ต้องรู้. กรุงเทพฯ: พีเอ็นเอ็น มีเดีย กรุ๊ป พับลิซซิ่ง.
สมจิต รุ่งจำรัสรัศมี. (2565). แรงงานเมียนมาเข้าชายแดน จ.ตาก กว่า 56,000 คน ในรอบ 5 เดือน แหล่งที่มา:
ออนไลน์ https://www.bbc.com/thai/articles/cv29lyezey0o (สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565
พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร. (2558). คู่มือการเขียนแอพ Android ด้วย Android Studio. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น.
คุณากร ธนที. (2564). สร้างเกมการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม Construct 2 แหล่งที่มา: ออนไลน์
https://www.slideshare.net/TomKhunakorn/construct-2-manual-construct-2 (สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565).
Nielsen, J. (2000). Why you only need to test with 5 users. Nielsen Norman Group. online:< https://www. nngroup. com/articles/why-you-only-need-to-test-with-5-users/>, ISSN, 0737-8939.
ศิริกาจนา พิลาบุตร สุปราณี ทัพมงคล กิติพงศ์ รัตนวงกต และธีระพงศ์ มลิวัลย์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง “คอมพิวเตอร์กับชีวิตประจำวัน”. วารสารการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1, 48-55.
อุมาภรณ์ เหล็กดี. (2557). การพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคราม.
วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัติกรรม, 1(1), 66-72.
Likert, R. N. (1970). A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally & Company