การคัดเลือกผังโรงงานด้วยวิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ กรณีศึกษา กระบวนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ได้นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้วิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกผังโรงงานที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาตัดสินใจทั้งหมด 5 เกณฑ์ ได้แก่ ความสะดวกและความปลอดภัย การใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ระยะทางในการขนถ่ายวัสดุ การไหลของวัสดุ และความยืดหยุ่นในการใช้งาน ในการวิจัยนี้เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ปัญหาของผังโรงงานปัจจุบันเพื่อหาความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ของโรงงานเพื่อนำข้อมูลมาออกแบบผังโรงงานใหม่ตามหลักการวางผังโรงงานอย่างมีระบบให้ได้จำนวน 3 ทางเลือก จากนั้นจึงใช้วิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อช่วยทำการตัดสินใจเลือกผังโรงงานซึ่งพบว่า ผังโรงงานทางเลือกที่ 3 มีความเหมาะสมที่สุด และเมื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผังโรงงานเดิมกับผังโรงงานใหม่พบว่า การปรับปรุงผังโรงงานช่วยให้ระยะทางการไหลของงานในโรงงานกรณีศึกษาลดลงคิดเป็น 52% ในส่วนของประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่พบว่าประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ของโรงงานใหม่ดีขึ้นคิดเป็น 62.9% และเวลาเฉลี่ยที่ชิ้นงานต้องอยู่ในระบบการผลิตลดลงคิดเป็น 28.2%
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
Lin, L. C. and Sharp, G. P., Quantitative and Qualitative Indices for the Plant Layout Evaluation Problem. European Journal of Operational Research, 1999. 116(1), p. 100-117.
Ho W., Integrated Analytic Hierarchy Process and Its Applications – A Literature Review. European Journal of Operational Research, 2008, 186, p. 211-228.
Yang T and Kuo C., A Hierarchical AHP/DEA Methodology for the Facilities Layout Design Problem. European Journal of Operational Research, 2003, 147, p. 128 -136.
Ertay T, Ruan D, and Tuzkaya UR., Integrating Data Envelopment Analysis and Analytic Hierarchy for the Facility Layout Design in Manufacturing Systems. Information Sciences, 2006, 176, p. 237-262.
Aguilar-Lasserre A. A., et al., An AHP-Based Decision-Making Tool for the Solution of Multiproduct Batch Plant Design Problem under Imprecise Demand. Computer & Operations Research, 2009, 36, p. 711-736.
Ishizaka A. and Labib A., Selection of New Production Facilities with the Group Analytic Hierarchy Process Ordering Method. Expert Systems with Applications, 2011, 38, p. 7317-7325.
Muther R. and Hales L. (2015). Systematic Layout Planning. 4th Edition. Management & Industrial Research Publications
Saaty, T. L. (1994). Fundamentals of Decision Making and Priority Theory with the AHP. Pittsburg: RWS Publications.
Saaty, T. L. (1980). The Analytic Hierarchy Process. McGraw-Hill, New York.
Gurcan, O.F., et al., Third Party Logistics (3PL) Provider Selection with AHP Application. In: 12th International Strategic Management Conference, ISMC 2016, 28-30 October 2016, p. 226-234.
Jharkharia, S. and R. Shankar, Selection of logistics service provider: An analytic network process (ANP) approach. Omega, 2007. 35(3), p. 274-289.