การออกแบบและสร้างหุ่นยนต์สังหารระบบเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอคที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์สังหารแบบไร้สายที่ควบคุมด้วยระบบเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอคด้วยโปรโตคอล TCP/IP ให้สามารถเคลื่อนที่ สอดแนม เล็งและยิงเป้าหมาย ในสภาพแวดล้อมที่ต้องการและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ โดยรับคำสั่งมาจากคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ภาษา Visual C# .NET ในการเขียนโปรแกรมควบคุมการสื่อสารระหว่างคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในตัวหุ่นยนต์ แล้วส่งต่อไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC16F877 ที่อยู่ในตัวหุ่นยนต์แบบไร้สายผ่านพอร์ตอนุกรม RS232 เป็นตัวควบคุมอีกทีหนึ่ง ซึ่งใช้ภาษา C ในการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบทั้งหมด ซึ่งจากการทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์นี้สามารถส่งคำสั่งจากคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ไปยังหุ่นยนต์ได้ประมาณ 30 เมตร และไมโครคอนโทรลเลอร์สามารถรับคำสั่งจากคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาประมวลผลและควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ได้ทุกฟังก์ชัน อาทิเช่น เดินหน้า ถอยหลัง หยุด เลี้ยวขวา เลี้ยวซ้าย สอดแนม เล็งและยิงเป้าหมาย ได้ตามที่ต้องการ หุ่นยนต์นี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด 1.12 เมตรต่อวินาที และพบว่าความแม่นยำของการยิงในระยะ 13 เมตร โดนเป้าคิดออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 53.33 % จากผลลัพธ์ที่ได้ เราสามารถนำการออกแบบหุ่นยนต์นี้ไปเพิ่มศักยภาพเพื่อใช้เป็นหุ่นยนต์สอดแนมทางทหารและเป็นหุ่นยนต์สังหารข้าศึกในทางการทหารได้ โดยไม่ต้องเกิดการสูญเสียกำลังพลในการสู้รบ
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
ชัยพร อัดโดดดร ถวัลย์ คุณโทถม กิตติศักดิ์ ดียา และพิพัฒน์ ดุรงค์ดำรงชัย. (2561). การออกแบบและสร้างหุ่นยนต์กู้ภัยแบบไร้สายที่ควบคุมด้วยระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Infrastructure เพื่อใช้ในการแข่งขัน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 9 วันที่ 7 กันยายน 2561 ณ อาคาร 50 ปี เทคนิคไทย-เยอรมัน ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, หน้า 290-296.
A.F.T. Winfield, O.E. Holland. (2000). The application of wireless local area network technology to the control of mobile robots, Microprocessors and Microsystems 23, pp. 597–607.
สิริรัตน์ ไตรวิรัตน. (2557). หุ่นยนต์สังหาร และการยอมรับจากมวลมนุษย์ชาติ, วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 สิงหาคม 2557, สมุทรปราการ.
Akash Gulati, Mohit Sharma, Nikhil Sharma, Dr. Shaveta Bhatia. (2017). Ad-Hoc Network and Their Applications, International Journal of Scientific Engineering and Science, Volume 1, Issue 12, pp. 65-68.
Pradeep Kumar Jaisal. (2011). Protocols and Applications of Ad-hoc Robot Wireless Communication Networks: An Overview, InternatIonal Journal of electronIcs & communIcatIon technology, ISSN: 2230-9543 (Print).