การใช้เครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนสำหรับอบแห้งดอกเก๊กฮวย

Main Article Content

Thanapon Saengsuwan

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนสำหรับอบแห้งดอก เก็กฮวย วิธีการศึกษาคือ (1) ทดลองอบแห้งผลิตภัณฑ์เพื่อศึกษาข้อมูลการใช้พลังงาน เวลาการอบแห้ง ความชื้น และ(2) วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเช่น อัตราคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน ผลการวิจัยพบว่าการอบแห้งดอกเก็กฮวยด้วยเครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนสามารถอบแห้งดอกเก็กฮวยให้มีความชื้นให้ต่ำกว่าร้อยละ 5 ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการต้องการ การอบแห้งที่อุณหภูมิ 65 oC เป็นช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดที่สามารถลดความชื้นของการอบแห้งดอกเก็กฮวยให้ได้ตามมาตรฐานโดยใช้เวลา 8 ชั่วโมง ใช้พลังงานในการอบแห้งเท่ากับ 1,692  บาทต่อปี และความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมพบว่ามีอัตราการคืนทุนที่คิดอัตราคิดลดที่ร้อยละ 3.00 เท่ากับ 3 เดือน 21 วัน และถ้าคิดอัตราคิดลดนที่ร้อยละ 6.76 เท่ากับ   3 เดือน 27 วัน และมีมูลค่าปัจุบันสุทธิเป็นบวก อัตราผลตอบแทนภายในมากว่าอัตราดอกเบี้ยธนาคาร ค่าอัตราผลตอบแทนต่อผลลงทุนอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการลงทุนใช้ตู้อบแห้งแบบปั๊มความร้อนในการอบแห้งดอกเก็กฮวยนั้นมีความเหมาะสมในการลงทุน และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวในการลงทุนในกรณีต้นทุนเพิ่ม   ร้อยละ 30 และผลตอบแทนลดลงร้อยละ 30 พบว่าการลงทุนยังเหมาะสม ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการพิจารณาในการลงทุนในการใช้เครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อน และเสนอแนะเป็นนโยบายในการส่งเสริมให้ใช้เครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนในการอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร

Article Details

How to Cite
Saengsuwan, T. (2021). การใช้เครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนสำหรับอบแห้งดอกเก๊กฮวย. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 8(1), 32–41. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/243942
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). ข้อมูลการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดเชียงราย ปี 2553-2556.

สุทธิพร ธเนศสกุลวัฒนา และคนอื่น ๆ. (2561). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตร

ยั่งยืนเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพด ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Hafidz R. (2011). Review of heat pump systems for drying application. Renewable and Sustainable Energy Reviews. 15, 4788-4796.

Phongsakorn D. & Nipon K. (2019). Analysis of investment models for megawatt scale photovoltaic power plant in Thailand. Journal of Renewable Energy and Smart Grid Technology. 14(1).

สุวิทย์ สายสุธนาวิชญ์ และ นิวิท เจริญใจ. (2561). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมของโรงงานต้นแบบการผลิตบล็อกประสานจากเถ้าหนักโรงไฟฟ้าแม่เมาะ. Naresuan Univerdity Engineering Journal. 13(2), 80-98.

ไกรสิงห์ อุดมญาติ. (2548). การพัฒนาเครื่องอบแห้งโดยใช้ปั้มความร้อน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2554). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2554). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทนุ โตทรายมูล. (2549). การเพิ่มสมรรถนะเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้งระบบปั๊มความร้อนสำหรับใช้ในการอบแห้งมะม่วงแผ่นโดยวิธการลดอุณหภูมิอากาศก่อนเข้าอีแวปปอเรเตอร์. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เทวรัตน์ ทิพยวิมล. (2553). รายวานการวิจัย การคงคุณภาพผักอบแห้งกึ่งสำเร็จรูปด้วยเทคนิคการอบแห้งแบบปั๊มความร้อน. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). สถิติ. สืบค้น 20 สิงหาคม 2563 จากhttps://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/IN_Historical.aspx

ปองพล สุริยะกันธร และคนอื่น ๆ. (2557). ผลของการเตรียมขั้นต้นด้วยการลวกและแบบจำลองการอบแห้งด้วยดอกเก๊กฮวย. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 20(2), 43-51.

มนตรี เดชมา. (2544). การประหยัดพลังงานในเครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อนโดยใช้เทอร์โมไซฟอนแบบรอบ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอกกฤษ แก้วเจริญ และ เอกภูมิ บุญธรรม. (2561). ผลของความเร็วลมต่อประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งแบบปั๊มความร้อน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 3(ฉบับพิเศษ), 158-166.

Adonis A. C., & Eliseo P. V. (2014). An Experimental Investigation of the Fruit Drying Performance of a Heat Pump Dryer. International Conference on Agriculture, Biology and Environmental Sciences (ICABES'14). Bali Indonesia.

Akhilesh S., et al. (2020). Experimental performance analysis of novel indirect-expansion solar-infrared assisted heat pump dryer for agricultural products. Solar Energy. 206, 907-917.

Faisal A., et al. (2019). Techno-economic analysis of ground and air source heat pumps in hot dry climates. Journal of Building Engineering. 26.

Yahya M., et al. (2018). Performance and economic analyses on solar-assisted heat pump fluidized bed dryer integrated with biomass furnace for rice drying. Solar Energy. 174, 1058-1067.

Thomas K., et al. (2013). Heat pump drying - A review. South African Journal of Science. 110(5/6).

Vasile M. (2011). INDUSTRIAL DRYING HEAT PUMPS. Theory, Technology and Applications. Nova Science Publishers, Inc., 1-70.