การประเมินความเสี่ยงและปริมาณการรับสัมผัสฝุ่นแบบแยกขนาดในร้านอาหารตามสั่งริมถนนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณ รวมทั้งเปรียบเทียบฝุ่นแบบแยกขนาดของผู้ประกอบอาชีพค้าขายอาหารตามสั่งในช่วงเวลาที่การประกอบอาหารสูงสุด และช่วงเวลาที่ไม่มีการประกอบอาหาร รวมทั้งประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสฝุ่นแบบแยกขนาดของผู้ประกอบอาชีพค้าขายอาหารตามสั่งริมถนนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 4 ร้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ เครื่องนับจำนวนอนุภาคขนาดเล็ก (DUST TRACKTM DRX Aerosol Monitor) และแบบประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 ผลการวิจัยพบว่า การประกอบอาหารมีผลทำให้ปริมาณฝุ่นในขนาดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ช่วงเวลาที่มีการประกอบอาหารค่าเฉลี่ยฝุ่นขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน เท่ากับ 0.127 mg/m3 ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เท่ากับ 0.133 mg/m3 ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เท่ากับ 0.135 mg/m3 ฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ (Respirable dust) เท่ากับ 0.131 mg/m3 และฝุ่นรวม (Total dust) เท่ากับ 0.140 mg/m3 และช่วงเวลาที่ไม่มีการประกอบอาหาร ค่าเฉลี่ยฝุ่นขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (PM1) เท่ากับ 0.066 mg/m3 ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) เท่ากับ 0.067 mg/m3 ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เท่ากับ 0.073 mg/m3 ฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้(Respirable dust) เท่ากับ 0.068 mg/m3 และฝุ่นรวม (Total dust) เท่ากับ 0.077 mg/m3 และผลการประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสฝุ่นที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้และฝุ่นรวมจากความรุนแรงและโอกาสการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยใช้ตารางเมทริกซ์ พบว่าความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทุกร้าน ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ค้าอาหารตามสั่ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
Wongnai for Business. (2562). สรุปข้อมูลและเทรนธุรกิจอาหารในประเทศไทย สำหรับปี 2562.สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563. จาก https://www.wongnai.com/business-owners/thailand-restaurant-trend-2019
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ ภาค และจังหวัด ปี พ.ศ. 2562.สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563. จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สำนักงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา. (2559). รายงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2559 : การรับรองมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข.สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563. จากhttp://nkrat.nso.go.th/images/attachments/article263/NKRAT%20R59.pdf
กรมอนามัยและกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.(2558). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ : กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก.
พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช และคณะ. (2550). ระดับรายวันของฝุ่นในอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่
ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร, ณัฐกานต์ ศรีสกุลเตียว และเบญจมาศ สุคันโท. (2562). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กทางการหายใจของพนักงานในโรงงานสีข้าวแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกำแพงเพชร" Srinagarind Medical Journal. 34.5: 482-489.
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม.(2555). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม: มอก.2535-2555
วิชาญ บุญค้ำ, ภัคศรัญย์ นวสรณ์สิริ, กัญญารัตน์ แสงนิล.(2563). การศึกษาปริมาณอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมคอนในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. Journal of Energy and Environment Technology , 7(1) : 20 - 28.
วิภาดา สนองราษฎร์, และนราธิป ชมพูบุตร. (2559). การตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กในโรงพยาบาล ในจังหวัด อำนาจเจริญ. วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย, 30 (3), 11-18.
วิภาดา สนองราษฎร์, และนวพล ชุติชาติ. (2559). การตรวจวัดฝุ่นรวมและเสียงในโรงงานทอผ้าแห่ง หนึ่งจังหวัดนครปฐม. วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย, 30 (3):1-10.
พิชัย ศริสุโขดม. (2557). ปริมาณฝุ่นละอองและกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอาหารสัตว์. Veridian E-Journal, 1 (4): 42-49.
นิตยา ชาคำรุณ, & ลักษณีย์ บุญขาว. (2019). การประเมินปริมาณฝุ่นละอองของคนงานทำอิฐมอญแดงในตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 21(1), 68-75.
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. “ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย 2560” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 104 ง. วันที่ 22 กันยายน 2547., 2560.
Lippmann, M. (1970). “Respirable” dust sampling. American Industrial Hygiene Association Journal, 31(2), 138-159.
Susz, A., Pratte, P., & Goujon-Ginglinger, C. (2020). Real-time Monitoring of Suspended Particulate Matter in Indoor Air: Validation and Application of a Light-scattering Sensor. Aerosol and Air Quality Research, 20(11), 2384-2395.