การพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อยและชานอ้อยสู่วิสาหกิจชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อยและชานอ้อยสู่วิสาหกิจชุมชน ซึ่งในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งนี้ได้ดำเนินการตั้งแต่การหาสร้างชุดผลิตถ่านอัดแท่ง ประกอบด้วยเตาเผา 200 ลิตร ชุดบดผงถ่าน ชุดผสมผงถ่าน เครื่องอัดถ่านแท่ง ตลอดจนการหาอัตราความเหมาะสมของส่วนผสมถ่านอัดแท่งจากใบอ้อยและชานอ้อย การหาประสิทธิภาพการใช้งานทางความร้อนของถ่านอัดแท่ง การวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์และศึกษาต้นทุนในการผลิต ใช้อัตราส่วนผสมจากใบอ้อยและชานอ้อย น้ำ และแป้งมันสำปะหลัง ทดสอบจำนวน 5 ตัวอย่าง พบว่าอัตราส่วนผสมตัวอย่างที่ 5 คือ ใบอ้อยและชานอ้อย 70%, น้ำ 10% และแป้งมันสำปะหลัง 20% ให้ค่าความร้อนเท่ากับ 4,591.80 cal/g และมีค่าประสิทธิภาพการใช้งานทางความร้อนของถ่านอัดแท่งจากใบอ้อยและชานอ้อยสูงสุดประมาณ 46.5% หากขายสู่ท้องตลาดสามารถสร้างรายได้ 86,400 บาทต่อปี
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
อนิรุทธ กิติพงษ์ ถือสัตย์. (2547). “การศึกษาศักยภาพทางการตลาดและความเป็นไปได้ของธุรกิจถ่านอัด
แท่งจากซังข้าวโพดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี.
ชนะ เยี่ยงกมลสิงห์, นภัสสวงศ์ โอสถศิลป์ และสุธีรา งานชูกิจ. (2548). “การศึกษาความเป็นไปได้ของการ
ผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดผสมถ่านจากกะลามะพร้าว”. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์และ
อุตสาหกรรมวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ธารินี มหายศนันท์. (2548). “การออกแบบและสร้างเครื่องผลิตถ่านอัดแท่งสำหรับการผลิตในระดับครัวเรือน”.
วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยะโชติ แทนจะโป๊ะ. (2554). “เทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่งเชื้อเพลิงจากแกลบผสมชานอ้อย”.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
รุ่งโรจน์ พุทธีสกุล. (2553). “การผลิตถ่านอัดแท่งจากถ่านกะลามะพร้าวและถ่านเหง้ามันสาปะหลัง”. วิทยานิพนธ์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริชัย ต่อสกุล, กุณฑล ทองศรี และจงกล สุภารัตน์. (2555). “การพัฒนาถ่านอัดแท่งจากกากมะพร้าว
เป็นพลังงานทดแทน”. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุพจน์ เดชผล. (2546). “การศึกษาศักยภาพและประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนน้ำเสีย
โรงงานน้ำตาลผสมกับชานอ้อย”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.