เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโร บนฐานรองผลึกเดี่ยวซิลิคอน ชนิดเอ็นที่มีชั้นเอ็นอะมอร์ฟัสซิลิคอนเป็นชั้นด้านหลัง
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ได้เสนอการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโรบนฐานรองผลึกเดี่ยวซิลิคอนชนิดเอ็นโดยพัฒนาต่อยอดจากเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโรบนฐานรองผลึกเดี่ยวซิลิคอนชนิดเอ็น ที่มีฟิล์มไมโครคริสตัลไลน์ซิลิคอนออกไซด์ชนิดพี (p-µc-SiO:H) เป็นด้านรับแสง โดยทำการเคลือบชั้นอะมอร์ฟัสซิลิคอนชนิดเอ็น (n-a-Si:H) เป็นชั้นด้านหลัง (Back Surface Field Layer) ซึ่งจะทำหน้าที่ผลักประจุบวก (โฮล) บริเวณด้านหลังของเซลล์แสงอาทิตย์ให้กลับไปยังด้านหน้าบริเวณรอยต่อระหว่างชั้นฟิล์มบาง p-µc-SiO:H กับแผ่นซิลิคอนเวเฟอร์ชนิดเอ็น n-c-Si ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์แสงอาทิตย์มีกระแสลัดวงจร (Short-circuit current; Jsc) สูงขึ้น โดยฟิล์มบาง n-a-Si:H จะถูกเคลือบโดยการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของก๊าซ H2/SiH4 และ PH3/SiH4 เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโรฯ จากนั้นทำการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโรโดยมีโครงสร้างเซลล์ฯ ประกอบด้วย front grid/ ITO/ p-µc-SiO:H/ n-c-Si/ n-a-Si:H/back contact (Ag/Al) จากการพัฒนาโครงสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโรฯ ที่มีชั้น n-a-Si:H เป็นชั้นด้านหลัง Jsc ของเซลล์เพิ่มจาก 31.9 เป็น 34.7 mA/cm2 ส่งผลให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากเดิม 14.6 % เป็น 16.4 %
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2] C. Leendertz and R. Stang., “Modiling an a-Si:H/c-Si solar cell with AFORS-HET in physics and technology of amorphous-crystralline heterostructure silicon solar cells”, Eds., Springer, 2012
[3] Silvia Matrin Denicolas., “a-Si:H/c-Si heterojunction solar cell : back side assessment and improvement”.,
PhD Thesis, Laboratorire de Gene Electrique. Universite Paris-Sud, Paris (France), 2012