การเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้โดยใช้วัสดุพรุน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปริมาณการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่จะต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศในรูปผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม แม้ว่าประเทศไทยจะมีแหล่งทรัพยากรด้านพลังงานของตนเอง อาทิเช่น แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบและถ่านหิน แต่ก็ยังไม่พอเพียงกับความต้องการและการใช้งานภายในประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นทุกๆปี และมีแนวโน้มว่าจะเกิดการขาดแคลนในอนาคต ดังนั้นการใช้พลังงานที่อย่างมีประสิทธิภาพ การค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่อย่างคุ้มค่าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยจำนวนมากได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเผาไหม้แบบหลายสถานะในวัสดุพรุน ซึ่งพบว่าการเผาไหม้ดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูง ในขณะที่ปลดปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ ในปริมาณที่ต่ำ แต่เนื่องจากความเร็วในการเผาไหม้สูงกว่าการเผาไหม้โดยปกติทั่วไป จึงทำให้สามารถเผาไหม้เชื้อเพลิงที่เจือจางหรือค่าความร้อนต่ำได้เป็นอย่างดี
บทความทางวิชาการนี้ได้นำเสนอถึงคุณสมบัติในเชิงกายภาพของวัสดุพรุน กระบวนการหรือกลไกการเผาไหม้ การศึกษาค้นคว้าและการทดลองที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคุณลักษณะพิเศษที่สำคัญต่างๆ ของวัสดุพรุน เช่น การหมุนเวียนความพลังงานความร้อนขณะเกิดการเผาไหม้ ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ รวมถึงการสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาในเทคโนโลยีดังกล่าวต่อไปในอนาคต
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2] Department of Alternative Energy Development and Efficiency. (2007). Thailand’s Energy Conservation and Renewable Energy Development Program 2008-2011, Bangkok: Ministry of Energy.
[3] Jugjai, S., et al, ‘Heat transfer Enhancement to Coolling Water Pipe by a Surface Combustor Heater Equipped with a Convection-Radiation Conveter’, RERIC International Energy Journal, Vol. 20, No. 2, pp 91-105, December, 1998.
[4] Weclas, M., Porous media in internal combustion engines, [in:] Cellular Ceramics Structure, Manufacturing, Properties and Applications, Scheffler, M., Colombo, P. (eds), Wiley-VCH-Publ.2005.
[5] Weclas, M., New strategies for homogeneous combustion in I.C. engines based on the porous medium (PM)-technology, ILASS Europe, June 2001.
[6] Afsharvahid, S., Dally, B.B. & Christo F.C. (2003). On the Stabilization of ultra-lean methane and propane flames in porous media. The 4th Asia-Pacific Conference on Combustion, Nanjing, Chaina, August 18-21.
[7] Trimis, D. & Durst, F. (1996). Combustion in a porous medium: Advance and applications. Combustion Science and Technology, 121, 153-168.
[8] C. Tierney and A.T. Harris. (2009). Journal of the Australian Ceramic Society Volume 45 [2], 2009, 20-29.
[9] Weinberg, F.J. (1971). Combustion temperature: the future?. Nature, 233, 239-241.
[10] Wongwatcharaphon, K. (2011). Numerical Simulation of High Efficiency Porous Burner for Liquid Fuel Combustion without Spray Atomization. D.Eng. Mechanical Engineering Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology Thonburi.
[11] Vafai, K. (2005). Handbook of porous media (2nded.). Taylor and Franscis, USA.
[12] Babkin, V.S., Korzhavin, A.A. & Buner, V.A. (1991). Propagation of premixed explosion flames in porous media. Combustion and Flame, 87, 182-190.
[13] Durst, F. & Trimis, D. (2002). Combustion by free flames versus combustion reactors. Clean Air, 3, 1–20.