การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของเส้นใยจากกาบกล้วยโดยใช้สารเคลือบสำหรับงานหัตถกรรม

ผู้แต่ง

  • โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล Program in Home Economics, Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Thailand
  • อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์ Program in Food and Nutrition, Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Thailand

คำสำคัญ:

เส้นใยจากกาบกล้วย, งานหัตถกรรม, สารเคลือบ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารเคลือบที่เหมาะสมในการเคลือบเส้นใยจากกาบกล้วยสำหรับใช้ในงานหัตถกรรม โดยปัจจัยที่ทำการศึกษา ประกอบด้วย สายพันธุ์ของต้นกล้วย แปรเป็น 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า ศึกษาปริมาณของไมโครแว็กซ์ แปรเป็น 3 ระดับ คือ ร้อยละ 0, 50 และ 100 ของน้ำหนักพาราฟินแว็กซ์ ทำการวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD จะได้ทั้งหมด 6 สิ่งทดลอง ทำการคัดเลือกสิ่งทดลองที่มีความเหมาะสม โดยการศึกษาลักษณะพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศอิเล็กตรอนแบบส่องกราด ค่าสี ค่าแรงดึงสูงสุด และค่าความชื้น ผลการวิจัย พบว่า เส้นใยจากกาบกล้วยน้ำว้าที่เคลือบไมโครแว็กซ์ร้อยละ 100 ของน้ำหนักพาราฟินแว็กซ์ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในงานหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสีเหลืองอ่อนมีค่าความสว่าง (L*) เท่ากับ 63.92 มีค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด เท่ากับ 100.73 นิวตัน ค่าร้อยละของการยืดตัว เท่ากับ 8.33  และมีค่าร้อยละความชื้น เท่ากับ 4.98 โดยลักษณะของเส้นใยที่ผ่านการเคลือบจะเรียบเนียนสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-05