ระยะเวลากักเก็บน้ำที่เหมาะสมต่อการผลิตไฮโดรเจนแบบไม่ใช้แสงจากการหมักย่อยร่วมของน้ำกากส่ากับกากยีสต์

ผู้แต่ง

  • Chatchawin Nualsri หลักสูตรสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • Naphatsarnan Phasukarratchai
  • Chakkrit Sreela-or
  • Sureewan Sittijunda

คำสำคัญ:

น้ำกากส่า, กากยีสต์, กระบวนการหมักแบบไม่ใช้แสง, ไฮโดรเจน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการใช้ประโยชน์จากน้ำกากส่าซึ่งเป็นน้ำเสียจากกระบวนการกลั่นเอทานอล เพื่อผลิตแก๊สไฮโดรเจนด้วยกระบวนการหมักแบบไม่ใช้แสง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระยะเวลากักเก็บน้ำ (hydraulic retention time; HRT) ที่เหมาะสมต่อการผลิตไฮโดรเจน โดยใช้การหมักร่วมระหว่างน้ำกากส่าและกากยีสต์ ดำเนินการทดลองในถังหมักระดับห้องปฏิบัติการ ปริมาตรทำงาน 5 ลิตร มีการเก็บข้อมูลอัตราการผลิตไฮโดรเจน ค่าพีเอช และองค์ประกอบของกรดไขมันระเหยง่ายในน้ำทิ้ง ระหว่างการแปรผันค่า HRT และมีการใช้เถ้าลอยเติมลงไปในกระบวนการหมักเพื่อควบคุมค่าพีเอช  ผลการวิจัยพบว่า ค่า HRT ที่เหมาะสมที่สุดของกระบวนการผลิตไฮโดรเจน คือ 1 วัน มีอัตราการผลิตไฮโดรเจนสูงที่สุด เท่ากับ 1,418 mL/L.d ซึ่งองค์ประกอบของกรดไขมันระเหยง่ายในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจนมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการแปรผันระยะเวลากักเก็บ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีการหมัก องค์ประกอบของกรดไขมันระเหยง่ายในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจนจึงสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการติดตามประสิทธิภาพของการผลิตไฮโดรเจนได้ นอกจากนี้ เถ้าลอยสามารถรักษาระดับของค่าพีเอชให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมของกระบวนการผลิตไฮโดรเจนได้เป็นอย่างดี โดยมีค่าพีเอชเฉลี่ยตลอดกระบวนการหมักเท่ากับ 5.41

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25