การเปรียบเทียบค่าความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนวิธีแบบเพลี้ยกระโดด

Main Article Content

แก้วใจ อาภรณ์พิศาล
พยุง มีสัจ
วาทินี นุ้ยเพียร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนอขั้นตอนวิธีเพลี้ยกระโดดสำหรับการหาค่าความเหมาะสมที่สุดเชิงตัวเลข ที่เกิดจากแนวคิดของพฤติกรรมการหาอาหารแบบเป็นกลุ่ม ด้วยการเคลื่อนที่เพื่อเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งเป็นการเข้าใกล้แหล่งอาหารคือ การลู่เข้าสู่คำตอบ และจากการเปรียบเทียบขั้นตอนวิธีการค้นหาแบบนกดุเหว่า แบบค้างคาว และแบบแมลงหวี่มีข้อจำกัดในเรื่องการกำหนดพารามิเตอร์เป็นค่าคงที่ และความเร็วของการลู่เข้าสู่คำตอบ ผู้วิจัยจึงทำการเปรียบเทียบกับ 3 ขั้นตอนวิธีข้างต้น จากผลการทดสอบของการหาค่าต่ำสุดของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ 4 ฟังก์ชันคือ ฟังก์ชัน Sphere ฟังก์ชันไกรแวงก์ ฟังก์ชันโรเซนบร็อก และฟังก์ชันแอกค์ลีย์ พบว่าขั้นตอนวิธีแบบเพลี้ยกระโดดให้ค่าความเหมาะสมเฉลี่ยที่ดีสุดในฟังก์ชันไกรแวงก์ (= 0.00012, S.D.= 0.00191) และฟังก์ชันแอกค์ลีย์(= 0.03102, S.D.= 0.16076) ดังนั้นวิธีที่นำเสนอสามารถแก้ไขปัญหาการหาค่าความเหมาะสมที่สุดได้เทียบเคียงกับวิธีอื่น และดีกว่าวิธีอื่นในบางฟังก์ชัน

Article Details

บท
บทความวิจัย