การระบุตำแหน่งอ้างอิงแบบอัตโนมัติเพื่อการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้วยการจับคู่เทมเพลต

Main Article Content

อัจฉรา เจริญทรัพย์
ทรงพล องค์วัฒนกุล
ชลทิพย์ วิรัตกพันธ์

Abstract

การสกัดคุณสมบัติเป็นพื้นฐานสำคัญก่อนการนำข้อมูลไปประมวลผลในงานวิจัยต่างๆ หลักการโดยทั่วไปของการสกัดคุณสมบัตินั้นมักอาศัยกระบวนการทางคณิตศาสตร์และสถิติช่วยในการสกัดค่าที่จะใช้เป็นตัวแทนในการประมวลผล เช่น ค่าเฉลี่ยของสัญญาณ คาบของสัญญาณ พิสัยของสัญญาณ เป็นต้น การสกัดคุณสมบัติด้วยเทคนิคเหล่านี้จะมีสูตรคำนวนที่สอดคล้องกับการโมเดลระบบและตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หลายๆ ระบบสามารถมีความแม่นยำในเชิงทฤษฎีที่สูง แต่ในการนำมาประยุกต์กลับพบว่า ข้อมูลที่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาตินั้นมีความซับซ้อนและหลากหลายเกินกว่าที่โมเดลไว้ทางในทางทฤษฎี ปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ อาจประกอบขึ้นได้จาก 2 ส่วน คือ กระบวนการบกพร่อง และสกัดคุณสมบัติบกพร่อง งานวิจัยนี้จะเน้นไปที่การสกัดคุณสมบัติที่ต้องการโดยใช้เทมเพลตที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคการปรับแนวด้วยวิธีไดนามิกไทม์วอร์ปปิง เทคนิคการสกัดคุณสมบัตินี้จะถูกทดสอบกับข้อมูลภาพถ่ายแมมโมแกรม เพื่อหาพิกัดตำแหน่งของหัวนมซึ่งเป็นจุดอ้างอิงสำคัญในการประมวลผลภาพเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็จเต้านม ผลการทดลองพบว่าอัลกอริธึมนี้สามารถบอกตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง ด้วยความแม่นยำสูงมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย