กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ด้วยเว็บโอเมตริกซ์

Main Article Content

ณรงค์ศักดิ์ จายางกูร

Abstract

เว็บโอเมตริกซ์เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก พัฒนา โดยกลุ่มนักวิจัยไซเบอร์แลป สภาแห่งชาติประเทศสเปน ใช้ วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณเกี่ยวกับกระบวนการสร้างเนื้อหา บนเว็บ ภายใต้หลักการที่เชื่อว่าเว็บไซต์เป็นแหล่งเผยแพร่ ข้อมูลทางวิชาการ ในปี ค.ศ.2007-2011 ได้กำหนดตัวชี้วัด ไว้ 4 ตัวชี้วัด คือ Visibility Size Rich Files Scholar จาก ศึกษาตัวชี้วัดดังกล่าว ได้สร้างเป็นกระบวนการพัฒนา เว็บไซต์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้อยู่ภายใต้ชื่อ โดเมนเนม และซับโดเมนเดียวกัน และสร้างเมทาเดตาให้กับ เอกสารดิจิตอล เพื่อเป็นตัวแทนของเอกสารต้นฉบับ ตลอด จนจัดทำเอสอีโอที่สมบูรณ์*ให้เกิดการเข้าถึงเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยผ่านเสิร์ชเอนจิน ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ได้ ถูกนำไปใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี ส่งผลให้อันดับเว็บโอเมตริกซ์มีการ เปลี่ยนแปลงสูงขึ้น แต่ในปี ค.ศ.2012-2014 ได้ปรับเปลี่ยน ตัวชี้วัด คือ Impact Presence Openness Excellence โดยเกณฑ์ ที่มีคะแนนมากที่สุด วัดจากคุณภาพของเนื้อหา เป็นคะแนน ร้อยละ 50 ซึ่งวิธีการทางเทคนิคไม่สามารถช่วยให้อันดับเว็บ โอเมตริกซ์สูงขึ้นได้เพียงอย่างเดียว ดังนั้นหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยควรมีการจัดทำฐานข้อมูล เพื่อรวบรวมผลงาน วิชาการ และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัย

 

The Web Development’s Process for Webometrics Ranking of Universities

Narongsak Chayangkoon

The Webometrics Ranking of world universities was an initiative of the Cybermetrics Lab, a research group belonging the part of the Spanish National Research Council. The method used to quantitative analysis of the web contents. The principle of belief that websites were source of academic publications. During 2007-2011, CSIC had four criteria for measuring the indicators. The indicators are described about visibility, size, rich files and scholar. The study of indicators created the web development’s process, the process used for the development university website. The website developed a same domain name with sub domain. The development’s process created metadata for digital content on website, there were agent of the original data, including the development’s process used complete search engine optimization. This process used for development Suratthani Rajabhat University website. The resulting of webometrics ranking had been on the rise. In 2013, the criteria for measuring the indicators had change. The indicators and weighting are described about impact, presence, openness, and excellence. The most points of measurement were the quality of the digital content. They were 50 percent of total point. So, the technical ability can*not help to up the ranking. The departments within the university must develop a database that collected the academic information resource and published on web publications. 

Article Details

Section
บทความวิชาการ