เว็บไซต์การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ผ่านระบบการจัดการแผนการเรียน

Main Article Content

ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านระบบการจัดการแผนการเรียนออนไลน์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมระหว่าง  1) วิธีเชิงพัฒนาระบบสารสนเทศออนไลน์และนำระบบไปใช้งานจริง      2) วิธีเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม  และ 3) วิธีเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์  ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 2 กลุ่ม จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง รวม 224 คน  เป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะซึ่งเป็นผู้ใช้ระบบ 28 คน  และนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจซึ่งเป็นผู้รับบริการ จำนวน 196 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) ฝึกอบรมทดลองใช้ระบบ “เว็บไซต์การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ผ่านระบบการจัดการแผนการเรียน” ดำเนินการกับอาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะฯ จำนวน 22 คน       2) สัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกจากอาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะฯ จำนวน 6 คน  นักศึกษา จำนวน 6 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง  และ 3) แจกแบบสอบถามกับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ฯ จำนวน 22 คน นักศึกษา จำนวน 190 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลจากความถูกต้องในการประมวลสารสนเทศของระบบ  วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยค่าสถิติร้อยละ และตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์  เพื่อให้แน่ใจว่ามีความน่าเชื่อถือและถูกต้อง
ผลการศึกษา พบว่า “เว็บไซต์การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ  ผ่านระบบการจัดการแผนการเรียน” สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแก่อาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งระบบสามารถประมวลผลสารสนเทศออนไลน์ทดแทนระบบงานเดิมที่ทำงานด้วยมือ (Manual)  โดยการใช้ระบบที่มีความสามารถนี้  ช่วยลดข้อผิดพลาดในการจัดรายวิชาลงทะเบียนให้กับนักศึกษาที่เรียนไม่เป็นไปตามแผน       ของการลงทะเบียนด้วยตนเอง (Free Enrollment) ระบบสามารถแจ้งเตือนหากมีการลงทะเบียนข้ามรายวิชาบังคับก่อน (Prerequisite)  เตือนหากมีการลงทะเบียนรายวิชาซ้ำ และอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถใช้แผนการเรียนรายบุคคลนำมาใช้วางแผนการลงทะเบียนให้แก่นักศึกษาที่เรียนตกแผนได้  ซึ่งช่วยบริหารความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาได้เป็นอย่างดี


This article aims to studies an improvement the relationship between students and instructor of Faculty of Business Administration from some Private University in Bangkok area via Study Plan Management System (SPMS) online. By used to mixed research methodology among, 1) developing method to information system and useful in real working, 2) quantitative method by questionnaires, and 3) qualitative method by interviews. The samples have 2 groups of Faculty of Business Administration from some Private University with 224 people include instructor and staff that the users this system 28 people, and students that the client 196 people. For the data collection using 1) user training in “Customer Relationship Management Website between Students and Instructor of Faculty of Business Administration: Via Study Plan Management System” with instructor and staff 22 people,    2) deep interview for collecting insight from instructor and staff 6 people and students 6 people by specific select the sample size, and 3) using the questionnaires with instructor and staff 22 people and students 190 people by random sampling. The data analyze base on the accuracy of the information processing system, data analyze from the questionnaires by the statistics on the percentage, and consistency checked with information from the interview to ensure reliability and validity.


                The findings found that, “Customer Relationship Management Website between Students and Instructor of Faculty of Business Administration: Via Study Plan Management System” able to support advisor working, the system able to online information processing, and can replace old system that working by manual. However, the capability of the new system help to error reduced for the students who that register do not go as planned in the free enrollment registration. The system can alert if someone cross the prerequisite subject, alert duplicate subject, and the advisor can useful the personal study plan for students registration planning that more efficiency. These things are factors that positive effect an improvement to customer relationship management between students and advisor, that very well.

Article Details

Section
บทความวิจัย