การประเมินและปรับปรุงสมรรถนะการจัดการ ห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์สตรอว์เบอร์รีของ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
คำสำคัญ:
ตัวแบบเชิงปฏิบัติการโซ่อุปทาน, การจัดการห่วงโซ่อุปทาน, การวิเคราะห์ตามลําดับชั้น, สตรอว์เบอร์รีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและปรับปรุงสมรรถนะการจัดการห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์สตรอว์เบอร์รี ของ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด โดยเริ่มจากการสร้างแบบประเมินสมรรถนะการจัดการห่วงโซ่อุปทานของ สตรอว์เบอร์รีโดยใช้กรอบแนวคิดหลักการของตัวแบบเชิงปฏิบัติการโซ่อุปทาน ออกแบบมาตรวัดเพื่อประเมินสมรรถนะ การตอบสนองกลยุทธ์การแข่งขันขององค์กรและใช้เทคนิคกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นให้ผู้บริหารมีส่วนกำหนดความสำคัญของกลยุทธ์องค์กรและเป็นผู้คัดเลือกมาตรวัดที่สอดคล้องกับความต้องการปรับปรุงสมรรถนะรวมถึงคัดกรองปัจจัยที่มีความสำคัญแตกต่างกันในสามด้านหลักคือ ด้านต้นทุน ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านการตอบสนอง และนำผลการประเมินมาออกแบบมาตรการและดำเนินการปรับปรุงสมรรถนะการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทาน โดยผู้วิจัยกำหนดแนวทาง การปรับปรุงการดำเนินงานของห่วงโซ่อุปทานสำหรับผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลักคือ 1. สตรอว์เบอร์รีสดพรีเมียม และ 2. สินค้า แปรรูปจากสตรอว์เบอร์รี โดยนำผลคะแนนการประเมินทั้ง 4 ด้านของสตรอว์เบอร์รีสดพรีเมียมและสินค้าแปรรูปจาก สตรอว์เบอร์รี ด้านการจัดหาวัตถุดิบ ด้านการผลิต ด้านการส่งมอบ และด้านการส่งคืนมาใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานปรับปรุง เริ่มจากด้านการจัดหาหรือรับซื้อวัตถุดิบสตรอว์เบอร์รีโดยผลจากการประยุกต์ใช้หลักการบริหารงานเกษตรและคุณรูปที่ยั่งยืนร่วมกับโมเดลการมีส่วนร่วมและความร่วมมือเครือข่ายเกษตรกร สามารถเพิ่มสมรรถนะด้านความน่าเชื่อถือ ปรับปรุงการควบคุมปริมาณผลผลิตในแปลงอย่างมีระบบและติดตามผลผลิตทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ การเพิ่มผลิตภาพด้วยเทคนิคลีน เพิ่มสมรรถนะด้านการตอบสนองต่อความต้องการผลิตภัณฑ์ เพิ่มประสิทธิภาพการไหลของกระบวนการ และการประยุกต์ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์บัญชีต้นทุนการไหลวัสดุช่วยความสูญเสียทั้งด้านปริมาณผลิตภัณฑ์มูลค่าลบ (Negative Product) และลดต้นทุน เพิ่มสมรรถนะการดำเนินงานผลิต ด้านต้นทุน ผลจากการปรับปรุงการจัดการห่วงโซ่อุปทาน สามารถบ่งชี้ได้ว่าองค์กรมีการจัดการห่วงโซ่อุปทานและมีสมรรถนะที่ดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล จะช่วยส่งเสริมกลยุทธ์การแข่งขันให้กับองค์กรในปัจจุบันและอนาคตได้
References
P. Simchi-Levi Kaminsky and E. D. Simchi-Levi, "Designing and Managing the Supply Chain: Concepts, Strategies and Case Studies. 3rd Edition: McGraw-Hill," in Designing and Managing the Supply Chain: Concepts, Strategies and Case Studies., 2008.
V. R. Tummala, C. L. Phillips, and M. J. S. C. M. A. I. J. Johnson, "Assessing supply chain management success factors: a case study," 2006.
E. Koberg and A. J. J. o. c. p. Longoni, "A systematic review of sustainable supply chain management in global supply chains," Journal Cleaner Production, vol. 207, pp. 1084-1098, 2019.
A. I. Pettersson and A. J. I. J. o. P. E. Segerstedt, "Measuring supply chain cost," International Journal Production Economics, vol. 143, no. 2, pp. 357-363, 2013.
E.-K. Lee, S. Ha, and S.-K. J. I. t. o. E. M. Kim, "Supplier selection and management system considering relationships in supply chain management," IEEE Transactions on Engineering Management, vol. 48, no. 3, pp. 307-318, 2001.
S. Chantanaroj, "The SCOR Model Application for Performance Evaluation of Plastic recycles manufacturing: Case study of the plastic recycles manufacturing," 2009.
W. E. Youngdahl and D. L. J. J. o. O. M. Kellogg, "The relationship between service customers' quality assurance behaviors, satisfaction, and effort: A cost of quality perspective," Journal Operations Management, vol. 15, no. 1, pp. 19-32, 1997.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้จะยังเป็นของผู้แต่งและยินยอมให้สิทธิ์เผยแพร่กับทางวารสาร
การเผยแพร่ในระบบวารสารแบบเปิดนี้ บทความจะสามารถนำไปใช้ได้ฟรีในการศึกษา และในทางที่ไม่เกี่ยวกับการค้า