การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย : การปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์จากภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ สู่ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ
Abstract
บทคัดย่อ
ประเทศไทยใช้กระบวนทัศน์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เรียกว่า “ภาษาอังกฤษในฐานะ ภาษาต่างประเทศ” ตลอดมา แต่ภาษาอังกฤษได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นภาษาโลก ครูอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษใน หลายประเทศจึงหันไปใช้กระบวนทัศน์ที่เรียกว่า “ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ” ซึ่งเป็นมุมมองเชิง วิพากษ์ล่าสุด กระบวนทัศน์ทั้งสองแตกต่างกันในด้านกรอบความคิดและข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับภาษาอังกฤษและ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษซึ่งครูอาจารย์และผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยอาจ ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ บทความนี้จึงอภิปรายข้อแตกต่างสำคัญสามประการระหว่างสองกระบวนทัศน์ คือ การ เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ ภาษาและวัฒนธรรมเป้าหมายและความสามารถในการสื่อสาร เพื่อชี้ให้เห็นว่าทำไม กระบวนทัศน์ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติจึงได้รับความนิยมและกำลังเข้ามาแทนที่กระบวนทัศน์ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยควรปรับเปลี่ยนจากกระบวนทัศน์ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศเข้าสู่กระบวนทัศน์ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติเช่นกัน
Abstract
It is recognized that English language teaching (ELT) in Thailand has been driven by the English as a Foreign Language (EFL) paradigm. Since English has established itself as a world language, the current critical view from the English as an International Language (EIL) paradigm has been adopted by ELT practitioners in many countries. EFL and EIL are different from each other in terms of conceptualizations of and assumptions about English and ELT activities, of which Thai teachers and practitioners are probably not aware. Three main differences between EFL and EIL – the ownership of English, the target language and culture, and the communicative competence – are thus discussed so as to show why EIL is well received and replacing EFL. It is suggested that Thailand should also shift the ELT paradigm from EFL to EIL.