ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย ของตัวแทนครัวเรือน ตําบลโดมประดิษฐ์ อําเภอน้ํายืน จังหวัดอุบลราชธานี
Keywords:
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, การป้องกันและควบคุม, โรคมาลาเรีย, ตัวแทนครัวเรือนAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับกิจกรรมสุขศึกษาตามระบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนของแต่ละครัวเรือน ๆ ละ 1 คน ทั้งหมด 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 40 คน และกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมสุขศึกษาตามระบบปกติ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย และแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.72 – 0.84 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมการควบคุมและป้องกันโรคมาลาเรียระหว่างกลุ่ม ในกรณีที่ผลการทดสอบก่อนการทดลองไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ T-independent ส่วนในกรณีที่ผลการทดสอบก่อนการทดลองมีนัยสำคัญทางสถิติ ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ และใช้คะแนนก่อนการทดลอง เป็นตัวแปรควบคุม ผลการทดลอง หลังการจัดโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียแล้ว กลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย มากกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมสุขศึกษาตามระบบปกติที่นัยสำคัญทางสถิติ .01