ศึกษาการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในโรงฆ่าชำแหละเนื้อโค และผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

Authors

  • เพิ่มศักดิ์ ยีมิน Permsak Yeemin

Keywords:

แบคทีเรียก่อโรค, การปนเปื้อน, เนื้อโค

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในตัวอย่างเนื้อโคและเลือดโคสด โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากโรงฆ่าสัตว์ จำนวน 2 แห่งคือ โรงฆ่าโพนยางคำ และโรงฆ่าสัตว์เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร และวิเคราะห์การปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคจากสถานที่จำหน่ายเนื้อโค จำนวน 3 แห่งคือ ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์โคขุนโพนยางคำ (เขียงเนื้อ 1), ตลาดสดเทศบาลนครสกลนคร (เขียงเนื้อ 2) และร้านขายเนื้อข้างทาง (เขียงเนื้อ 3) โดยสุ่มเก็บตัวอย่างใน 3 ฤดู คือ (1) ฤดูหนาว เดือนมกราคม 2555 (2) ฤดูร้อน เดือนเมษายน 2555 และ (3) ฤดูฝน เดือนกรกฎาคม 2555 ผลการศึกษา พบว่า ในฤดูฝนมีค่าเฉลี่ยการปนเปื้อนของจุลินทรีย์คงไว้ สูงมากที่สุด คือ 4.3x104 CFU/กรัม รองลงมาคือฤดูหนาว และฤดูร้อน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยการปนเปื้อนฯ   ที่ 7.8 x 103 และ 2.4 x104 CFU/กรัม ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนจุลินทรีย์สูงมากที่สุดคือ ตัวอย่างเลือดโคสดจากเขียงเนื้อ 2 เก็บในฤดูฝนที่พบการปนเปื้อนถึง 1.6 x106 CFU/กรัม สำหรับการตรวจสอบการปนเปื้อน E. coli  พบว่า ตัวอย่างเนื้อโคจากโรงฆ่าโพนยางคำ และร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์โคขุนโพนยางคำทุกตัวอย่างที่เก็บในแต่ละฤดูมีค่า MPN E. coli อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานฯ สามารถยอมรับได้ และมี 5 ตัวอย่างที่มีปริมาณการปนเปื้อน E. coli  สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานฯ ที่กำหนดไว้ ( >1,100 MPN/กรัม) ได้แก่ ตัวอย่างเนื้อโคจากเขียงเนื้อ 2 ที่เก็บในฤดูร้อน, เขียงเนื้อ 3 ที่เก็บในฤดูหนาว, ตัวอย่างเลือดโคสดจากโรงฆ่าสัตว์เทศบาลฯ ในฤดูฝน และตัวอย่างเลือดโคสดจากเขียงเนื้อ 3 ที่เก็บในฤดูหนาว และฤดูร้อน  ในขณะที่การตรวจสอบการปนเปื้อน S. aureus และ Salmonella spp. ในทุกตัวอย่างเนื้อโคและเลือดโคสดที่สุ่มเก็บในสถานที่ และฤดูต่าง ๆ พบว่า มีค่าการปนเปื้อนแบคทีเรียดังกล่าวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในทุกตัวอย่าง ยกเว้นในตัวอย่างเลือดโคสดจากเขียงเนื้อ 2 ที่เก็บในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ที่พบการปนเปื้อนของ Salmonella spp.

คำสำคัญ: แบคทีเรียก่อโรค, การปนเปื้อน, เนื้อโค

Abstract

This research aimed to study the contamination of some pathogenic bacteria in beef and cattle blood samples, which were both randomly collected from two slaughterhouses, which were Ponyangkham and Sakon Nakhon Municipality slaughterhouse. Also, the pathogenic bacteria contamination analysis was being done on samples from three beef-selling points, namely 1) Ponyangkham Cooperative Shop (beef shop 1); 2) Sakon Nakhon Municipality Market (beef shop 2) and 3) street side beef stall (beef shop 3). The samples were collected in three seasons of 2012, which are 1) winter (January); 2) summer (April) and 3) rainy season (July). All samples were being analyzed for the contamination of pathogenic bacteria. The data showed that the highest average contamination of total microorganisms was in the samples from the rainy season (4.3x104 CFU/g), followed by those of winter and summer, which were 7.8 x 103 and 2.4 x104 CFU/g respectively. The highest contaminated sample was the cattle blood collected from beef shop 2 in the rainy season at 1.6 x106 CFU/g. For the monitoring of E. coli contamination, it was found that all beef samples collected from Ponyangkham slaughterhouse and cooperative shop in each season had acceptable MPN E. coli value not exceeding the standard criteria. However, there were five samples with E. coli contamination higher than the standard criteria (> 1,100 MPN/g), which are the summer beef samples from beef shop 2, winter beef samples from beef shop 3, rainy season cattle blood samples from Sakon Nakhon Municipality slaughterhouse and winter and summer blood samples from beef shop 3. Lastly, the analysis of S. aureus and Salmonella spp. contamination of samples collected from each site and season showed that apart from the blood samples collected from beef shop 2 in the rainy season, all samples had the contamination level not exceeding the standard criteria.

 

Keywords: Pathogenic Bacteria, Contamination, Beef

Downloads

How to Cite

Permsak Yeemin เ. . ย. (2015). ศึกษาการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในโรงฆ่าชำแหละเนื้อโค และผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. Creative Science, 7(13), 1–10. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/34941