การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอน โดยใช้ชุดสื่อประสมกับการสอนแบบ SQ4R
Keywords:
ชุดสื่อประสม, การสอนแบบ SQ4R, ผลการเรียนรู้, ประสิทธิภาพของชุดสื่อประสม, ดัชนีประสิทธิผลAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดสื่อประสมเรื่องการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดสื่อประสมเรื่องการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดสื่อประสมก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการสอนแบบ SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนระหว่างการสอนโดยใช้ชุดสื่อประสมกับการสอนแบบ SQ4R 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้ชุดสื่อประสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนชุมชนวังทอง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สุ่มนักเรียนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน จำนวน 2 ห้อง เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดสื่อประสมจำนวน 6 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบ SQ4R จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ5) แบบวัดทักษะการอ่านจับใจความ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยชุดสื่อประสมเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย Hotelling T2 Dependent Samples, The Wilcoxon Signed Ranks Test, The Mann-Whitney U Test และ t-test Independent Samples
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดสื่อประสม เรื่องการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 82.25/80.83
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดสื่อประสมเรื่องการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.5542 แสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยชุดสื่อประสมมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.42
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดสื่อประสมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบ SQ4R มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดสื่อประสม และการสอนแบบ SQ4R มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดสื่อประสมมีการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบ SQ4R อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีทักษะการอ่านจับใจความสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบ SQ4R อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดสื่อประสมมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57
คำสำคัญ : ชุดสื่อประสม, การสอนแบบ SQ4R, ผลการเรียนรู้, ประสิทธิภาพของชุดสื่อประสม,
ดัชนีประสิทธิผล
Abstract
The purposes of this study were: 1) to develop a multimedia package on reading comprehension in the Thai language learning strand for Prathomsuksa 4 students which has efficiency based on the 80/80 criterion, 2) to find an effectiveness index of the multimedia package on reading comprehension in the Thai language learning strand for Prathomsuksa 4 students, 3) to compare learning achievement and analytical thinking of the students who learned using the multimedia package between before and after the learning, 4) to compare learning achievement and analytical thinking of the students who learned using the SQ4R learning approach between before and after the learning, 5) to compare learning achievement, analytical thinking and skill in reading comprehension of Prathomsuksa 4 students using the multimedia package versus the SQ4R learning approach, and 6) to examine satisfaction of teaching through the multimedia approach among Prathomsuksa 4 students. The sample used as selected by cluster random sampling was a total of 40 Prathomsuksa 4 students divided into two equal numbers of students in two homogeneous groups, who were enrolled in the first semester of academic year 2013 at Wangthong Community School, Udon Thani province. One group of them was assigned as a control group, while the other a treatment group. The instruments used were: 1) 6 plans of the multimedia package, 2) 6 learning management plans using the SQ4R learning approach, 3) a 30-item objective test of learning achievement with 4 choices, 4) a 20-item test of analytical thinking with 4 choices, 5) a 20-item test of reading comprehension skill with 4 choices, and 6) a 5-rating scale questionnaire with 15 items asking satisfaction of learning through the multimedia package. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and hypotheses testing through HotellingT2dependent samples, the Wilcoxon signed ranks test, the Mann-Whitney U test and t-test of independents samples.
The findings revealed as follows:
1. The efficiency of multimedia package on reading comprehension in the Thai language learning strand for Prathomsuksa 4 students was 82.25/80.83.
2. The effectiveness index of multimedia package on reading comprehension in the Thai language learning strand for Prathomsuksa 4 students was 0.5542, which shows that the students who learned through the multimedia package had 55.42% increased learning progress.
3. The students who learned through the multimedia package had a significant difference in learning achievement and analytical thinking between before and after the treatment with a significantly higher score of the latter than that of the former at the .01 level.
4. The students who learned through the SQ4R learning approach had a significant difference in learning achievement and analytical thinking between before and after the treatment with a significantly higher score of the latter than that of the former at the .01 level.
5. The students who learned either through the multimedia package or through the SQ4R learning approach had a significantly higher learning achievement after the treatment than that before the treatment at the .01 level. Those who learned through the multimedia package had a significantly higher analytical thinking than those who learned through the SQ4R learning approach at the .05 level and also had a significantly higher reading comprehension skill than those who learned through the SQ4R learning approach at the .01 level.
6. Those students who learned through the multimedia package had their overall satisfaction at the highest level with a mean score of 4.57.
Keywords : Multimedia package, the SQ4R learning approach, Learning results,
Multimedia package efficiency, Effectiveness index