ทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ของวัยรุ่น ในจังหวัดสกลนคร
Keywords:
การรู้เท่าทันสื่อ, สื่อมวลชน, สื่อสมัยใหม่, วิถีชีวิตประจำวัน, วัยรุ่นAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ของวัยรุ่นในจังหวัดสกลนคร 2. ศึกษาผลของการใช้สื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ที่มีต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของวัยรุ่นในจังหวัดสกลนคร ภายใต้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับแบบจำลองการรู้เท่าทันสื่อ แนวคิดเทคโนโลยีสื่อสารเป็นตัวกำหนด แนวคิดการใช้สื่อกับวิถีชีวิตประจำวันของวัยรุ่น และแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ที่จัดโดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ของโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รวมทั้งหมด 160 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัยรุ่นในจังหวัดสกลนครมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่โดยรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ดังนี้
1.1 โครงสร้างของความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.87
1.2 แรงจูงใจในการตัดสินใจ หรือ จุดยืนส่วนบุคคล มีคะแนนเท่ากับ 3.13
1.3 เครื่องมือในการประมวลข้อมูล มีคะแนนเท่ากับ 3.60
1.4 กระบวนการวิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล มีคะแนนเท่ากับ 3.33
2. การใช้สื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ มีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันของวัยรุ่นทั้ง 3 รูปแบบ
2.1 การดำเนินชีวิตประจำวันในครอบครัว พบว่า มีการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัวผ่าน Social media เช่น Facebook, Instagram รวมทั้งโปรแกรมสนทนาออนไลน์ ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 ในขณะเดียวกัน การเปิดรับสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวลดลง ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.13
2.2 การดำเนินชีวิตประจำวันในการเรียน พบว่า การใช้สื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ทำให้สะดวกสบายในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อช่วยในการศึกษา ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.28, มีการนำสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่มาใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อช่วยในการศึกษาในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.98 และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ทำให้เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนมากขึ้น ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.73
2.3 การดำเนินชีวิตประจำวันในการใช้เวลาว่างและการใช้สื่อมวลชน พบว่า มีการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนผ่าน Social media เช่น Facebook, Instagram รวมทั้งโปรแกรมสนทนาออนไลน์ ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.26, การเปิดรับสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียดได้ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.09, กิจกรรมยามว่างส่วนใหญ่คือการเปิดรับสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.94 และ มีเพื่อนใหม่ที่รู้จักผ่านทาง Social media เช่น Facebook, Instagram รวมทั้งโปรแกรมสนทนาออนไลน์ ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 3.72
คำสำคัญ : การรู้เท่าทันสื่อ, สื่อมวลชน, สื่อสมัยใหม่, วิถีชีวิตประจำวัน, วัยรุ่น
Abstract
The purposes of this study were to: 1) investigate teenagers’ skill of knowing what’s what and as much as the mass and modern media’s knowing in Sakon Nakhon province, and 2) examine the effects of using mass media and modern media upon making a daily living of teenagers in Sakon Nakhon province under the conceptual framework of the model of knowing what’s what and as much as the mass media’s knowing, of the prescribed idea of communication technology, of the idea of using media and way of daily life of teenagers and of the idea of needs among teenagers. The samples were teenagers who participated in the project of workshop on ‘Knowing What’s What and as Much as the Mass Media’s Knowing’ which was held by the Department of Communications, Sakon Nakhon Rajabhat University comprising MathayomSuksa 5 students at SakonratWithayanukul School and undergraduate students, Faculty of Management Science, Sakon Nakhon Rajabhat University totaling 160 students. The instrument for collecting data was a 5-rating scale questionnaire. Data analysis was done through percentage, mean and standard deviation.
The findings of study were found as follows:
1. The teenagers in Sakon Nakhon province had their skill in knowing what’s what and as much as the knowing by mass and modern media as a whole at high level. Considering it by aspect, all the aspects were found at high level as follows:
1.1 That of ‘structure of knowledge’ had a score of 3.87;
1.2 That of ‘motivation for decision or personal standpoint’ had a score of 3.13;
1.3 That of ‘instrument for gathering data’ had a score of 3.60;
1.4 That of ‘analytical process and data interpretation’ had a score of 3.33.
2. The use of mass media and modern media had an effect upon the teenagers’ behavioral adjustment to the 3 styles of making a daily living.
2.1 In making a daily living in the family, it was found that there was a communication with the family’s members through social media such as Facebook, Instagram and online conversation programs at high level with a mean score of 3.75. At the same time, the exposure to mass media and modern media resulted in a decrease of interaction between the teenagers and family’s members at high level with a mean score of 3.13.
2.2 In making a daily living in learning, it was found that the use of mass media and modern media was convenient for investigating knowledge in study at the highest level with a mean score of 4.28; that the use of mass media and modern media in searching for knowledge in study was at high level with a mean score of 3.98; and that the search of knowledge from mass media and modern media helped the teenagers better understand the contents at high level with a mean score of 3.73.
2.3 In conducting the teenagers’ daily life when having spare time and in using the mass media, it was found that there was a communication with friends through the social media such as Facebook, Instagram and online conversational programs at the highest level with a mean score of 4.26; that the teenagers’ exposure to mass media and modern media made them feel relaxed at the highest level with a mean score of 4.09; that most of the teenagers’ spare-time activities were to expose themselves to mass media and modern media at high level with a mean score of 3.94; and that they had new friends being introduced by social media such as Facebook, Instagram and online conversational programs at high level with a mean score of 3.72.
Keywords : Knowing what’s what and as much as the media, Mass media, Modern media,
Way of daily life, Teenagers