รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาพยาบาล Training Model for Emotional Quotient Development of Nursing Students.

Authors

  • ลักษณ์นันท์ เดชบุญ

Keywords:

รูปแบบการฝึกอบรม ความฉลาดทางอารมณ์ นักศึกษาพยาบาล, Training model, Emotional quotient, Nursing students

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล เป็นการวิจัย   เชิงสำรวจ ผู้วิจัยอาศัยแนวคิดความฉลาดทางอารมณ์ตามแนวคิดของโกลแมน (Goleman) 5 ด้าน ได้แก่   1) ด้านการตระหนักรู้ตนเอง 2) ด้านการควบคุมตนเอง 3) ด้านแรงจูงใจในตนเอง 4) ด้านเอาใจเขามาใส่ใจเรา และ 5) ด้านทักษะทางสังคม ประสานกับแนวคิดกระบวนการพยาบาลและการพยาบาลแบบองค์รวม มาสร้างแบบสอบถามพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเชื่อมั่นได้ค่า สัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 จากนั้นนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3, 4 อาจารย์พยาบาล  พยาบาล และผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมความฉลาด   ทางอารมณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลรวมทุกด้านและเป็นรายด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านการตระหนักรู้ตนเองค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำกว่าด้านอื่นๆ ทุกด้าน จึงเป็นด้านที่เป็นความต้องการจำเป็นในการพัฒนา

ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบฝึกอบรม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยอาศัยแนวคิดความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ของโกลแมน แนวทางการพัฒนาจิตของพุทธศาสนาและการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ได้รูปแบบฝึกอบรมตามแนวพุทธศาสนา และร่างรูปแบบฝึกอบรมตามแนวพุทธศาสนาที่ใช้หลักธรรมอินทรีย์ 5 พละ 5 และไตรสิกขาบรรจุไว้ในร่างหลักสูตรฝึกอบรม และเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบฝึกอบรมและหลักสูตรฝึกอบรมประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คนที่เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า  ร่างรูปแบบฝึกอบรมและหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมโดยรวมและเป็นรายข้ออยู่ในระดับมาก

ระยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบฝึกอบรม เป็นการวิจัยเชิงทดลองและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยศึกษาพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ตนเองของกลุ่มทดลองที่ได้มาแบบอาสาสมัคร โดยมีกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ตนเอง และเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้      t-test (dependent) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฝึกอบรมและหลักสูตรฝึกอบรมด้วยแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบฝึกอบรมเหมาะสมของรูปแบบฝึกอบรมและหลักสูตรโดยกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ พฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลติดตามภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม 2 เดือน เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์กลุ่มทดลองร่วมกับการสะท้อนคิด และกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ อาจารย์พยาบาล พยาบาล และผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า

1. กลุ่มทดลองมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทุกด้าน

2. ผลการประเมินการใช้รูปแบบฝึกอบรมและหลักสูตรฝึกอบรมกลุ่มทดลองเห็นว่ามีความเหมาะสมมากถึงมากที่สุด และเสนอแนะให้เพิ่มระยะเวลาฝึกอบรม เป็นอย่างน้อย 5 วัน เพิ่มเวลาปฏิบัติกรรมฐาน และเพิ่มจำนวนกรณีศึกษาให้หลากหลาย ผู้วิจัยได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ

3. ผลการติดตามพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ตนเองในการปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ตนเองในการปฏิบัติการพยาบาล

 

Abstract

This study was to conducted under a research and development process in three phases as follows:

Stage 1 : The purpose for studying emotional quotient of nursing students. The researcher studied by survey research based on components of emotional quotient of Goleman’ concept. The concept consisted of 5 aspects :1) self-awareness 2) self-regulation 3) motivation 4) empathy and 5) social skills. Nursing process and holistic care. The research instrument was a 5 rating scale questionnaire which was examined by 3 experts. The reliability of the questionnaire was 0.97. The samples were nursing students, nursing teachers, nurses and patients by purposive sampling and analyzed data by mean and standard deviation. The result revealed that their emotional quotient in self-awareness was at the low level and needed to be developed first.

Stage 2 : The purpose for studying developing training model for emotional quotient  in self-awareness development of nursing students. The researcher studied by survey research based on Goleman’ concept including emotional self-awareness, accurate self-assessment and self-confidence and self-awareness development concept based on Buddhism including Indriya 5 and Bala 5 Trisikka and developing training were to be training guidelines. The training model was included in training course which was drafted according to Buddhist way. The research instrument was questionnaire which was evaluated for appropriateness by 9 experts  by purposive sampling  and analyzed data by mean and standard deviation. The result revealed that the training model and training course were appropriate at the high level.

Stage 3 : The purpose for studying the effectiveness of the training  model. The training  model was tried out with voluntary nursing students in second class, using one group pretest-posttest design. The group was pre-tested and post-tested. The research instrument was the questionnaire and analyzed data by t-test (dependent). The training course was evaluated for appropriateness by experimental group. The research instrument was the questionnaire and collected data from experimental group and analyzed data by mean and standard deviation. And monitoring of behaviors according to the emotional quotient in self-awareness in nursing practice in the course of practicing skills of experimental group and collected qualitative data by participated observation, in-depth interviewed and reflected from experimental group. And interviewed nursing teacher, nurses and patients.The result revealed that :

1. The emotional quotient in self-awareness aspect of experimental group after the training course was higher than before at statistically significant level of .001.

2. The model efficiency evaluation result revealed that the training course was appropriate. Some suggestions were delivered including the training course should be longer, case studies should be varied and meditation should be extended. The researcher also improved the training course according to these suggestions.

3. The experimental group had self-awareness in nursing practice.

How to Cite

เดชบุญ ล. (2014). รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาพยาบาล Training Model for Emotional Quotient Development of Nursing Students. Creative Science, 5(10), 99–116. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/16859