การแลกเปล่ยี นดั้งเดมิ ของชาวอีสาน : มุมมองความสัมพันธ์ทางสังคม Traditional Exchange of Isan People: A Social Relationship Perspective

Authors

  • ละมัย ร่มเย็น

Keywords:

การแลกเปลี่ยนแบบดั้งเดิม, ความสัมพันธ์ทางสังคม, มิติความสัมพันธ์, ระดับวามสัมพันธ์, Traditional Exchange, Social Relationship, Dimension of Relationship, Level of Relationship.

Abstract

มุมมองความสัมพันธ์ของคนในสังคมผ่านการแลกเปลี่ยนดั้งเดิมของชาวอีสานมี 2 ลักษณะหลัก คือ (1) ลักษณะความสัมพันธ์ของการแลกเปลี่ยน (2) มิติความสัมพันธ์กับระดับความสัมพันธ์ ลักษณะความสัมพันธ์ของการแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ (1.1) ลักษณะความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เป็นความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูก พี่น้อง และเครือญาติ (1.2) ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับชุมชน เป็นความสัมพันธ์ของเพื่อนบ้าน คนในคุ้มเดียวกัน คนในหมู่บ้านเดียวกัน และ (1.3) ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน เป็นความสัมพันธ์ของคนที่เคยแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน คนขับรถโดยสารระหว่างหมู่บ้าน คนรู้จักกันหรือเคยเห็นหน้ากันบนรถโดยสารระหว่างหมู่บ้าน คนเคยช่วยเหลือกันในระหว่างการเดินทางแลกเปลี่ยนไปตามหมู่บ้าน และคนที่ผูกเสี่ยวด้วยในหมู่บ้านอื่น มิติความสัมพันธ์กับระดับความสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 6 มิติความสัมพันธ์ และ 4 ระดับความสัมพันธ์ มิติความสัมพันธ์ ได้แก่ มิติด้านสายเลือด มิติด้านจิตใจ มิติด้านสังคม มิติด้านศาสนา มิติด้านวัฒนธรรม และมิติด้านเศรษฐกิจ   ส่วนระดับความสัมพันธ์ ได้แก่ ระดับความสัมพันธ์ศูนย์กลาง เป็นความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ระดับความสัมพันธ์ปริมณฑลที่ 1 คือ ระดับญาติพี่น้อง ระดับความสัมพันธ์ปริมณฑลที่ 2 คือ ระดับเพื่อนบ้าน ระดับความสัมพันธ์ปริมณฑลที่ 3 คือ ระดับคนรู้จักกัน และระดับความสัมพันธ์ปริมณฑลที่ 4 คือ คนเคยเห็นหน้า

The social relationship of the traditional exchange of Isan people had 2 characteristics: (1) the nature of the relationship, and (2) the dimension and level of relationship. The nature of relationship had 3 types: (1.1) Internal family relationship: between father and mother, parents and children, brothers and sisters, and among relatives, (1.2) Family-community relationship: between neighbors, group of houses, and fellow villagers, (1.3) Inter-community relationship: between exchange parties, bus drivers, bus passengers, familiarities, and close friends in the villages. The dimension and level of relationship were divided into 6 dimensions and 4 levels. The dimensions of relationship were blood, spiritual, social, religious, cultural, and economic dimensions. The levels of relationship were core level, the family relationship; peripheral level 1, the relatives; peripheral level 2, the neighbors; peripheral level 3, the familiarities; peripheral level 4, the recognized ones.

Downloads

How to Cite

ร่มเย็น ล. (2014). การแลกเปล่ยี นดั้งเดมิ ของชาวอีสาน : มุมมองความสัมพันธ์ทางสังคม Traditional Exchange of Isan People: A Social Relationship Perspective. Creative Science, 5(10), 1–16. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/16800