ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบบรรยากาศของโรงเรียน ประสิทธิผลของโรงเรียนและหา ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัด นครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ปีการศึกษา 2552 จำนวน 157 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามบรรยากาศของโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.24 - 0.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.52 - 0.85 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐานที (T-score) การทดสอบที (t - test) การทดสอบเอฟ (F - test) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า 1)บรรยากาศในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมมีลักษณะ แบบเปิด 2)ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม อยู่ในระดับมาก 3) ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อบรรยากาศโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4)ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5)ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบรรยากาศในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6)ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน มีความ คิดเห็นต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โดยรวมไม่แตกต่างกัน 7) บรรยากาศโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทา’สถิติที่ระดับ .01 8) ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนา บรรยากาศโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมไว้ด้วย ด้าน บรรยากาศมี 4 มิติ คือ มิติห่างเหิน มิติมุ่งผลงาน มิติแบบอย่าง และมิติกรุณาปรานี และประสิทธิผลของโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนามี 1 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาเจตคตินักเรียน
Abstract
The purpose of this research was to investigate schools climate, the effectiveness of schools and the relationship between schools climate and the effectiveness of schools under Mueang Nakhon Phanom Municipality,Nakhon Phanom Province. Samples used in the research consisted of 157 school administrators, teachers and basic education committees in academic year 2009. Five levels of rating scale questionnaires were used to collect data. Schools climate discrimination power ranged between 0.24 - 0.91 and the reliability coefficient was 0.92 whereas the effectiveness of schools discrimination power ranged between 0.52-0.85 and the reliability coefficient was 0.94. The collected data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, T-scores, t-test for independent samples, F-test and Pearson ’s Product Moment Correlation. The findings of this study were as follows : 1) The schools climate under Mueang Nakhon Phanom Municipality, Nakhon Phanom Province was the open climate. 2) The effectiveness of the schools under Mueang Nakhon Phanom Municipality, Nakhon Phanom Province, as a whole, was at the high level. 3) The climate of the schools under Mueang Nakhon Phanom Municipality, Nakhon Phanom Province, as perceived by the school administrators, teachers and basic education committees, as a whole, was not significantly different. 4)The effectiveness of the schools under Mueang Nakhon Phanom Municipality, Nakhon Phanom Province, as perceived by the school administrators, teachers and basic education committees, as a whole, was not significantly different. 5)The climate of the schools under Mueang Nakhon Phanom Municipality, Nakhon Phanom Province, as perceived by the school administrators and teachers who had different working experiences, as a whole, was significantly different at the .01 level. 6) The effectiveness of the schools under Mueang Nakhon Phanom Municipality, Nakhon Phanom Province, as perceived by the school administrators and teachers who had different working experiences, as a whole, was not significantly different. 7)The climate of the schools obtaining the relationship with the effectiveness of the schools was significantly positive at the .01 level. 8) The researcher was also proposed the guidelines to develop schools climate in production emphasis aloofness trust and consideration aspect and schools effectiveness in students attitudes development aspect.