ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม

Authors

  • จันทิรา แก้วบุตรา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 79 คน ครูผู้สอน146 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน 146 คน รวมจำนวน 371 คน ปีการศึกษา 2552 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .53 ถึง .89 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และแบบสอบถาม เกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .35 ถึง .85 และมี ความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบเอฟ และการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ ครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก 3)ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4)ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมไม่แตกต่าง กัน 5)ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 6)ความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานของครูผู้สอนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 7)ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 8)ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ต้องพัฒนา มี 6 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะระดับพื้นฐาน ด้านความพร้อมของข้อมูลสารสนเทศ คุณลักษณะเฉพาะ/ความสามารถและทักษะเฉพาะตัว ด้านทักษะทาง สังคม ด้านทักษะการวิเคราะห์ปัญหา ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านพฤติกรรมกล้าเสี่ยงและคุณลักษณะเชิง บูรณาการ ด้านความรู้สึกไวต่อบุคคลอื่น ส่วนความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนที่ต้อง พัฒนา มี 6 ด้าน คือ ปัจจัยจูงใจ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ปัจจัย สุขอนามัยด้านเงินเดือน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพการ ทำงานและด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว

 

Abstract

The purpose of this study was to investigate the relationship between school administrators’ leadership and teachers’ job satisfaction in schools under The Offices of Educational Service Areas in Nakhon Phanom province. Samples of the study, selected by multi-stage random sampling, consisted of 79 school administrators, 146 teachers and 146 basic educational institution committees in Academic Year 2009. The instruments used in collecting data were 2 sets of 5-level rating scale questionnaires. The first set, the discrimination power and the reliability coefficient of which were .53 and between .89 and .98 respectively, was used to explore the respondents’ opinions regarding school administrators’ leadership. The second set, the discrimination power values and the reliability coefficient of which were .35 and between .85 and .98 respectively, was used to explore the respondents’ opinions on teachers’ job satisfaction. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, F-test, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. Findings of the study were as follows : 1)Opinions of school administrators, teachers, and basic educational institution committees on school administrators’ leadership as a whole were at the high level. 2) Opinions of school administrators, teachers and basic educational institution committees on teachers’ job satisfaction as a whole were at the high level. 3) Opinions of school administrators, teachers, and basic educational institution committees on school administrators’ leadership as a whole were not different. 4)Opinions of school administrators, teachers and basic educational institution committees on teachers’ job satisfaction as a whole were not different. 5)Opinions of school administrators, teachers, and basic educational institution committees working in different-sized schools on school administrators’ leadership as a whole were not different. 6) Opinions of school administrators, teachers and basic educational institution committees working in different-sized schools on teachers’ job satisfaction as a whole were not different. 7)School administrators’ leadership had a statistically significant positive relationship with teachers’ job satisfaction at the .01 level. 8)Guidelines on how to develop school administrators’ leadership and teachers’ job satisfaction were recommended. Six aspects for the administrators’ leadership development included in the recommendations were : basic personal qualities, information-related readiness, specific qualities or talents, social skills, problem analyzing skills, emotional control, enterprising and integrative characteristics, and sensitivity towards others . Also stated for improving teachers’ job satisfaction were 6 motivational factors. They were job characteristics, occupational progress, health, salary, relationship with superiors, subordinates, and colleagues, working conditions as well as personal living conditions.

Downloads

How to Cite

แก้วบุตรา จ. (2013). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. Creative Science, 3(5), 61–74. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10004