ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลาโมง ในกระชัง Effects of Different Stocking Density on Growth Performance and Economic Returns of Bocourti Catfish (Pangasius bocourti, Sauvage) Raised in Cage Culture
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลาโมงในกระชังในแม่นํ้าสงคราม บริเวณบ้านปากยาม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด มี 3 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซํ้า อัตราความหนาแน่น 3 ระดับ คือ 125 150 และ 175 ตัว
ต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้อาหารเม็ดลอยนํ้าที่มีองค์ประกอบโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ปล่อยปลาขนาด
ความยาวเฉลี่ย 16.13+-1.12 16.17+-1.03 และ 16.15+-1.06 เซนติเมตร และนํ้าหนักเฉลี่ย 50.07+-10.83 50.05+-10.45 และ 50.08+-10.14 กรัม เป็นระยะเวลา 36 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าปลาโมงมีความยาวเฉลี่ย 36.00+-2.47 36.29+-2.36 และ 35.17+-1.98 เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) นํ้าหนักเฉลี่ย 649.03+-168.55 697.49+-149.36 และ 604.91+-133.55 กรัม ตามลำดับ ที่ระดับความหนาแน่น 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับที่ระดับ 125 และ 175 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีอัตราการรอดตายเฉลี่ยเท่ากับ 99.63+-0.06 99.11+-0.53 และ 99.12+-0.15 เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อที่ระดับ 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.07+-0.07 มีค่าความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับที่ระดับความหนาแน่น 125 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับที่ระดับ 175 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าเฉลี่ย 2.23+-0.08 การเลี้ยงปลาโมงในกระชังมีต้นทุนเฉลี่ย 56.01 56.04 และ 60.12 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยเท่ากับ 15,514.04 19,873.25 และ 16,689.82 บาทต่อกระชัง ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลตอบแทนการลงทุนการเลี้ยงปลาโมงในกระชังมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 42.83 42.74 และ 33.07 เปอร์เซ็นต์ (ต่อกระชัง) จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตพบว่าอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาโมงในกระชังคือ 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร เพราะมีกำไรสุทธิสูงสุด
Abstract
The effect of stocking density on growth performance and economic returns of bocourti catfish (Pangasius bocourti, Sauvage) cultured in experimental floating
cages was conducted using the Complete Randomized Design (CRD) with 3 replicates of 3 stocking density (SD) : 125 150 and 175 fish/m3. Fish of initial average size of 16.13+-1.12 16.17+-1.03 and 16.15+-1.06 cm in length and 50.07+-10.83 50.05+-10.45 and 50.08+-10.14 g in body weight. Fish were fed with pellet diet containing 30% protein twice a day for 36 weeks. The results showed that SD had no significant (P>0.05) influence on final lengths 36.00+-2.47 36.29+-2.36 and 35.17+-1.98 cm, respectively, and survival rate 99.63+-0.06 99.11+-0.53 and 99.12+-0.15%, respectively. There was significant difference (P<0.05) observed final weights and Feed Conversion
Ratio (FCR) whilst final weights of fish in 150 fish/m3 (697.49+-149.36 g) were
significant in comparison to the ratio of fish in the 125 and 175 fish/m3
(i.e. 649.03+-168.55 and 604.91+-133.55 g respectively). FCR of fish in both 125 and 150 fish/m3 (i.e. 2.03+-0.10 and 2.07+-0.07, respectively) were not significant different, these obviously were different in comparison to the ratio of fish in 175 fish/m3 (2.23+-0.08). Economic analysis showed that fish stocked at 125 150 and 175 fish/m3 had production unit cost 56.01 56.04 and 60.12 baht/kg respectively. Net profit were 15,514.04 19,873.25 and 16,689.82 baht respectively. Percentage of return profit were 42.83 42.74 and 33.07% respectively (per cage). Considering on net income and net profit, the optimum stocking density of bocourti catfish culture was 150 fish/m3.
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรธเทพฯ. พน้า 15
กัลยา วานิชย์บัญชา. (254). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ซี เคแอนด์ เอส โฟโตสตูดิโอ. กรุงเทพฯ. หน้า 594
คฑาวุธ ปานบุญ, วรัณยู ขุนเจริญ, เขมชาดิ จิวประสาท และ อายุวัฒน์ นิลศรี. (2548). ผลของอัตรา
ความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตของปลาโมงในกระชัง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 9/2548. สำนักวิจัย
และพัฒนาประมงน้ำจืด. กรมประมง. ทนา 18
ไมตรี ดวงสวัสดิ์ และ จารุวรรณ สมศิริ. (25283). คุณสมบัติของน้ำและวิธีวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยทางการ
ประมง. สถาบันวิจัยประมงน้ำจืดแห่งขาติ. กรมประมง. หน้า 125
ธีรพันธ์ ภคาสวรรค์. (2511). ปลาบางชนิดในแม่น้ำโขง. เอกสารวิชาการกองบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ ฉบับที่ 2.
กองบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ. กรมประมง. หน้า 70
วิวัฒน์ ปรารมภ์ และชัยศิริ ศิริกุล. (2538). การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาโมง. สถานีประมง
น้ำจืดจังหวัดเขียงราย. กองประมงน้ำจืด. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 53
วิระวรรณ ระยัน และสุภาพร มทันต์กิจ. (2551). การเลี้ยงปลาโมงในกระขังด้วยอัตราปล่อยต่างกัน.
เอกสารวิชาการฉบับที่ 78/2551. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด. กรมประมง
วิมล จันทรโรทัย.(2536). การวางแผนการวิจัยด้านอาหารปลา. วารสารการประมง. ปีที่ 46. ฉบับที่4.
หน้า 323-330
สมศักดิ์ เพียบพร้อม.(2530). หลักเละวิธีการจัดการธุรกิจฟารม. โอ เอส พริ้นติ้งเฮาล์. กรุงเทพมหานคร.
หน้า 240
สมศักดิ์ รุ่งทองใบสุรีย์, ชวลิต วิทยานนท์ และณรงค์ วีระไวทยะ. (2531). การสำรวจปลาในครอบครัว
Schibeidae และ Pangasiidae ที่พบในแม่น้ำโขงและสาขา (ประเทศไทย). เอกสารวิชาการ
ฉบับที่ 1/2531. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดหนองคาย. กองประมงน้ำจืด. กรมประมง. หน้า 42
ศิราณี งอยจันทร์ศรี และ ธีระชัย พงศ์จรรยากุล. (2548). ผลของความหนาแน่นที่มีต่อการเจริญเติบโต
และผลผลิตปลาโมง (Pangasius bocouti Sauvage, 1880) ในกระชังในแม่น้ำโขง. เอกสาร
วิชาการฉบับที่ 8/2548. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด. กรมประมง. หน้า 18
อรรณพ อิ่มศิลป์ และณรงค์ศักดิ์ ศิริชัยพันธุ์. (2550). การเลี้ยงปลาโมงในกระชัชเที่ระดับความหนาแน่น
ต่างกัน 4 ระดับ. เอกสารวิชาการฉบับที่ 16/2550. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด.
กรมประมง. หน้า 21
American Public Health Association. (1976). Standard methods for the examination
of water and wastewater/ prepared and published jointly by American Public
Health Association, American Water Works Association [and] Water Pollution
Control Federation. 14th ed. Washington, D.C. : American Public Health Association
p. 1193
Boyd, C.E. (1990). Water Quality in Pond for Aquaculture. Alabama Agricultural
Experiment Station. Auburn University, Auburn Alabama. p. 482
Berra, T.M. (1981). An Atlas of Distribution of the Freshwater Fish Families of
the world. Univ. of Nebraska press. pp. 74-75
Hepher, B. (1988). Nutrition of Pond Fishes. Cambridge University Press. New York. 388 pp.
Hung, L. T., N. A. Tuan, P. Cacot, and J. Lazard. (2002). Larvel rearing of the Asian Catfish,
Pangasius bocorti (Siluroidei, Pangasiidae): alternative feeds and weaning time.
Aquaculture. 212. pp. 115-127
Kay, R.D. (1986). Farm Management : Planing, Control and Implementation. McGraw
Hill Book Co., Singapore. p. 401
Smith, H.M. (1945). Freshwater Fish of Siam or Thailand. United Strates Government
prining office, Washington D.C. p. 622
Tyson, R.R. (1991). Systematic Revision of the Asian Catfish Family Pangasiidae, With
Biological Observations and Description of Three New Species. In Proceeding
of Academy of Natural Sciences of Philadelphia. Vol. 143. pp. 97-144
Wang, N., R.S. Hayward and D.B. Noltie. (2000). Effects of social interaction on growth
of juvenile hybrid sunfish held at two densities. North American Journal of
Aquaculture. Vol. 62. Issue 3. pp. 161-167