ตัวแบบพยากรณ์โอกาสการถอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ Withdrawal’s Probability Forecasting Model of Calculus 1 Subject for Thaksin University’s Student
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การสร้างตัวแบบพยากรณ์โอกาสการถอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยพิจารณาปัจจัยจำนวน 11 ปัจจัย ที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ปัจจัยด้านการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ปัจจัยด้านตัวอาจารย์ผู้สอน ปัจจัยด้านพฤติกรรมการสอน ปัจจัยด้านบรรยากาศในห้องเรียน ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านสาขาวิชาที่ศึกษาอยู่ ปัจจัยด้านสถาบันการศึกษา ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อน และปัจจัยด้านครอบครัว ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตของมหาวิทยาลัยทักษิณที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ประจำปีการศึกษา 2556 และเคยลงทะเบียนเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 ในปีการศึกษา 2553 ถึง 2555 จำนวน 455 คน ได้มาโดยวิธีการชักตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างมีระบบวงกลม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แบ่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คนแรก (ร้อยละ 87.91) สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ส่วนที่ 2 คือข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 55 คนสุดท้าย (ร้อยละ 12.09) สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของตัวแบบพยากรณ์ที่สร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบพยากรณ์โอกาสการถอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ แสดงดังนี้
P (เกิดเหตุการณ์) = P (ถอนรายวิชาแคลคูลัส 1) = = p
เมื่อ
ผลการตรวจสอบความถูกต้องของตัวแบบพยากรณ์กับข้อมูลส่วนที่ 2 ที่ไม่ได้นำไปใช้สร้างตัวแบบ
ได้ค่าร้อยละความถูกต้องในการจำแนกกลุ่มผลการเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ไม่ถอนรายวิชา และถอนรายวิชาเท่ากับร้อยละ 83.02
Abstract
The objective of this research aimed to create a forecasting model of the withdrawal’s probability of Calculus 1 subject for Thaksin University’s student. Influential factors to be expected in learning achievement of Calculus 1 subject were 11 factors: personal factor, factor of learning achievement in mathematics, factor of learning achievement in Calculus 1 subject, lecturer factor, factor of teaching behavior, factor of classroom environment, curriculum factor, factor of department, institute factor, companion factor, and family factor. The sample to be used in this study were 455 student of Thaksin University at the academic year 2013 who had registered Calculus 1 subject during academic years 2010 to 2012 which obtained by Circular Systematic Stratified Sampling method. The data were collected by using questionnaire which had the reliability equal to 0.94. Data were separated into 2 parts. The first part was the information from the first 400 respondents (87.91%) for building the forecasting model by logistic regression analysis. The second part was the last remaining 55 respondents (12.09%) for checking the accuracy of the forecasting model. The result showed that the forecasting model of the withdrawal’s probability of Calculus 1 subject for Thaksin University’s student was:
P (Event) = P (Withdrawal Calculus 1) = = p
where
The monitoring accuracy of the forecasting model using data in the second part that were not applied to modeling, we found the percentage accuracy in the classification of learning achievement of Calculus 1 subject into 2 groups, did not withdraw and withdrawal, equals to 83.02%.
Article Details
References
กรุงเทพฯ: ธรรมสาร
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552) การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวเปร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร
โกมล ไพศาล. (2549). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราขภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. รายงานการวิจัย
ฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราขมงคลพระนคร. (2553). การศึกษาปัจจัย
ที่มีผลกระทบต่อการถอนรายวิชาระเบียบวิธีเชิงตัวเลข 1. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน. เข้าถึงเมื่อ
3 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก (http:/ /uhost.rmutp.ac.th/ ratree,files /research-
room531.pdn)
งานบริการการศึกษา. (2556). สถิติการลงทะเบียนและการถอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ปีการศึกษา 2553
ถึง 2555. เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2556. เข้าถึงได้จาก (http:/ /reg.itsu.ac.th/registrar/
home. ASP?avs398294937-9)
เจนจิรา วิศาลวรรณ พิยดา สุทธิจุฑามณี สุพัตรา สู่หญ้านาง สุรชัย วงค์จันเสือ และอมรรัตน์ อยู่เย็น.
(2551). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีการศึกษา 2551. รายงานการวิจัย วิธีวิจัยทางการศึกษา
(EDUC3901). มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ฉลอง สวัสดี และณรงค์ศักดิ์ โยรา. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเเคลคูลัส 1
สำหรับวิศวกรของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บรรจง จงรัก. (251). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรชาคณิตศาสตร์ของนักศีกษาระดับ
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. รายงานการวิจัย
ฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
บุญชม ศรีสะอาต. (2543). การวิจัยทางการวัดผลเเละประเมินผล. กรุงเทพ": สุวีริยาสาส์น
ประชุม สุวัตถี. (2552). การสำรวจด้วยตัวอย่าง: การชักตัวอย่างเเละการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โครงการ
ส่งเสริมและพัฒนาเอกสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เพียงพบ มนต์นวลปรางค์. (2546). การศึกษาปีจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา
สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบัน
ราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
สุรัสวดี นางแล. (2550). สถิติวิเคราะห์และเเบบจำลองของปีจจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง. ปริญญานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
อังสนา จั่นแดง และพัชรินทร์ เศรษฐีชัยชนะ. (2552). ปีจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
หลักการคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์. ใน การประชุมทางวิชาการของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47. 17-20 มีนาคม 2552. กรุงเทพ". หน้า 9-16
Anderson, T.W. (2003). An Introduction to Multivariate Statistical Analysis. 3rd ed.
New Jersey: Wiley
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Test. Psychometrika.
Vol. 16. Issue 3. pp. 297-334
Johnson, R.A. and Wichern, D.W. (1998). Applied Multivariate Statistical Analysis. 4th ed.
New Jersey: Prentice Hall