การศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างสถานีบริการนํ้ามัน : กรณีศึกษา ศูนย์กลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน The Feasibility Study of a Gasoline Station Construction : A Case Study of Rajamangala University of Technology Isan Nakornratchasima

Main Article Content

เฉลิมเกียรติ ศรีศิลา

Abstract

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างสถานีบริการนํ้ามัน กรณีศึกษา ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เพื่อลดความเสี่ยงหากมีการดำเนินงานและเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้พิจารณาและตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสร้างสถานีบริการนํ้ามันขึ้นภายในมหาวิทยาลัยฯ
ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ด้านการตลาด ด้านการบริหาร และด้านวิศวกรรม สำหรับส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการศึกษาความเป็นไปได้ด้านการเงินและด้านเศรษฐศาสตร์ ใช้ดัชนีชี้วัดคือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเมื่อพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุน ณ ระดับอัตราดอกเบี้ย 4% และอายุโครงการเท่ากับ 20 ปี พบว่าโครงการต้องการเงินลงทุนเบื้องต้นทั้งหมด 10,843,059 บาท มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 4,111,888 บาท และอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับ 5.92% สรุปโครงการสร้างสถานีบริการนํ้ามัน มีความเหมาะสมต่อการลงทุน


Abstract


The objective of this project is to conduct a feasibility study on a gasoline station construction in Rajamangala University of Technology, Nakornratchasima in order to reduce investment risks and also provide right information for the university executives in making decision. The study was divided into two main parts. Firstly, all relevant data were collected and the feasibility on marketing, management and engineering was investigated. Secondly, impacts on finance and economy were analyzed using Net Present Value (NPV) and Internal Rate of Return (IRR) as the key performance indicators. The result revealed that at 4% interest rate of investment within 20 years, the cost for the project of gasoline station construction should be 10,843,059 baht with Net Present Value (NPV) at 4,111,888 baht and Internal Rate of Return (IRR) at 5.92%. Thus, the investment on the gasoline station construction is recommended.

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีศิลา เ., “การศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างสถานีบริการนํ้ามัน : กรณีศึกษา ศูนย์กลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน The Feasibility Study of a Gasoline Station Construction : A Case Study of Rajamangala University of Technology Isan Nakornratchasima”, RMUTI Journal, vol. 8, no. 2, pp. 48–60, Sep. 2015.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

เฉลิมเกียรติ ศรีศิลา

คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

References

แผนกยานพาหนะ ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2555). การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของ
การเรียนการสอนและเดินทางไปราชการ. นครราชสีมา

จันทนา จันทโร และศิริจันทร์ ทองประเสริฐ. (2545). การศึกษาความเป็นไปได้โครงการด้านธุรกิจเเละ
อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน). (2555). ข้อกำหนดด้านพื้นที่สำหรับการสร้าง
สถานีบริการน้ำมัน. เข้าถึงเมื่อ3 กุมภาพันธ์ 2555. เข้าถึงได้จาก (http:/ /www pttplccom/
TH/Opportunity/Pages /Opportunity.aspx)

ประเสริฐ เทียนนิมิต และคณะ.(2559). เชื้อเพลิงและสารหล่อลี่น. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: บริษัท ชีเอ็ด
ยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2546). สถิติสำหรับวิศวกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริม
เทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น)

วิทยา ดีวุ่น. (2546). เชื้อเพลิงและวัสดุหล่อลื่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ

สำนักงานทะเบียนและประเมินผล ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2555). รายงาน
จำนวนเจ้าหน้าทีและบุคคลากร. นครราชสีมา

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2555). ค่าการตลาดน้ำมัน. เข้าถึงเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556.
เข้าถึงได้จาก (http:/ / www.iwebgas.com /oil/oil.htm)

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2555). รายงานน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย
พ.ศ. 2550-2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาตินแดน

อำพล ซื่อตรง และสายันท์ ศรีวิเชียร. (2554). เชื้อเพลิงและวัสดุหล่อลื่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:
ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ