การพัฒนาสื่อแอนนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ทรัพย์ในดิน A Development of Cartoon Animation 2D Story : The Treasure in the Field

Main Article Content

ชญาดา ทาโบราณ
กฤติกา สังขวดี

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อแอนนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ทรัพย์ในดิน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สื่อแอนนิเมชัน 2 มิติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อสื่อแอนนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ทรัพย์ในดินกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนลานกระบือวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อแอนนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ทรัพย์ในดิน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อแอนนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ทรัพย์ในดิน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.92/81.00 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อแอนนิเมชัน2 มิติ เรื่อง ทรัพย์ในดิน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด () = 4.76, S.D. = 0.43)


Abstract


The objectives of this research were 1) To develop the cartoon animation 2D story: “The treasure in the field: to meet the 80/80 standard criteria, 2) To compare the academic achievement of the students who taught with the cartoon animation 2D story: “The treasure in the field”, 3) to study the students’ satisfaction with the cartoon animation 2D story: “The treasure in the field”, The sample for the study, consisted of 30 students of grade 9 attending Lankrabuewittaya School during the first semester of the 2014 academic year. The instruments used in the study consisted of 1) the cartoon animation 2D story: “The treasure in the field” 2) A learning achievement test, 3) An evaluation form probing the efficiency of the cartoon animation 2D story: “The treasure in the field”. The data analysis were percentage, arithmetic means, standard deviations and a t-test. The findings of the study revealed that 1) Cartoon animation 2D story: “The treasure in the field” achieved the efficiency of 81.92/81.00 2) The students who were taught with the cartoon animation 2D story: “The treasure in the field” showing higher learning achievement than those taught with the conventional lessons at 0.05 level of statistical significance, and 3) the students showed a very high level of satisfaction with the cartoon animation 2D story: “The Treasure in the Field” () = 4.76, S.D. = 0.43)

Article Details

How to Cite
[1]
ทาโบราณ ช. and สังขวดี ก., “การพัฒนาสื่อแอนนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ทรัพย์ในดิน A Development of Cartoon Animation 2D Story : The Treasure in the Field”, RMUTI Journal, vol. 8, no. 2, pp. 31–39, Sep. 2015.
Section
Research article
Author Biographies

ชญาดา ทาโบราณ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก

กฤติกา สังขวดี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :
คุรุสภาลาดพร้าว

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การพัฒนาและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน :
กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมิเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ :
ศูนย์พัฒนาหนังสือ

ชรินรัตน์ จิตตสุโภ, เนดิ เฉลยวาเรศ และศรินทิพย์ ภู่สำลี. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง
หน่วยสิ่งมีชีวิตและชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 5.
ฉบับที่ 3. หน้า 67-74

ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์. (2531). ธรรมชาติวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ขวนพิมพ์

วิทยา เรื่องพรพิสุทธิ์. (2538). คู่มือการเฮ้าสู่อินเตอร์เน็ตส่าหรับผู้เริ่มต้น. กรุงเทพมทานคร: ชีเอ็ดยูเคชั่น

มนตรี แรงจัดงาน. (2553). การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทางดาราศาสตร์เพื่อเสริมการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเขียงใหม่

สรชัย ชวรางกูล. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจของนักเรียน
ช่วงชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการ์ตูนแอนนิเมชั่นรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์
อุตสาหกรรมมทาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

อัมพวา รักบิดา. (2549). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดแก้ปีญหาเละความพึงพอใจซองนักเรียน
ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์