การศึกษาผลกระทบของอุปกรณ์บังแดดแนวนอนต่อการระบายอากาศภายในอาคาร

Main Article Content

ปัทมาพร ท่อชู
ศุทธา ศรีเผด็จ

Abstract

ในปัจจุบันแนวโน้มของอุณหภูมิอากาศที่สูงขึ้น ส่งผลทำให้สัดส่วนการใช้พลังงานในการปรับอากาศเพิ่มขึ้น การสร้างสภาวะน่าสบายทางอุณหภูมิโดยเพิ่มการเคลื่อนไหวของอากาศภายในอาคาร ศึกษาการระบายอากาศของอุปกรณ์บังแดด เนื่องจากอากาศภายนอกมีอุณหภูมิที่สูงกว่าภายในอาคาร ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์บังแดดที่สามารถมีคุณสมบัติในการระบายให้อากาศออกไปโดยไม่สะสมความร้อน การแก้ปัญหาเรื่อง
การระบายความร้อนโดยศึกษาการเคลื่อนที่ของอากาศอาศัย การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติเป็นหลักและป้องกันความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ เพื่อศึกษาการออกแบบอุปกรณ์บังแดดแนวนอนที่มีผลต่อการระบายอากาศภายในอาคาร ประสิทธิภาพการระบายอากาศและรูปแบบช่องเปิด โดยทำการทดสอบโดยวิธีการคำนวณค่าด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล ประเมินผลการทดลองเฉพาะเดือนธันวาคมเนื่องจากเป็นเดือนที่ดวงอาทิตย์อ้อมใต้มากที่สุด ผลการศึกษาสำหรับการออกแบบอุปกรณ์บังแดดด้านทิศใต้ ขนาดช่องเปิดสูง 1.30 เมตร ยาว 2.40 เมตร ระยะยื่น 1.30 เมตร พบว่า ระยะห่าง
ระหว่างอุปกรณ์บังแดดกับผนังอาคาร 0.10 เมตร จะสามารถกันแดดได้ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพ ระยะยื่นของอุปกรณ์บังแดดไม่มีผลต่อการระบายอากาศ แต่ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์บังแดดกับผนังอาคาร 0.10 เมตร รูปแบบช่องเปิดของห้องมีผลต่อความเร็วลม การกระจายของลม ซึ่งมีลักษณะการเคลื่อนไหวของลมที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรูปแบบห้อง และมีผลต่อการระบายอากาศทั้งภายในและภายนอกห้อง

Article Details

How to Cite
[1]
ท่อชู ป. and ศรีเผด็จ ศ., “การศึกษาผลกระทบของอุปกรณ์บังแดดแนวนอนต่อการระบายอากาศภายในอาคาร”, RMUTI Journal, vol. 8, no. 1, pp. 115–126, May 2015.
Section
บทความวิจัย (Research article)
Author Biographies

ปัทมาพร ท่อชู

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ศุทธา ศรีเผด็จ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง