การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานข้าวเกรียบ ด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดและอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพของระบบถังหมักก๊าซชีวภาพแบบไร้อากาศจากนํ้าเสียโรงงานข้าวเกรียบ โดยใช้ถังหมักก๊าซขนาด 20 ลิตร ระยะเวลาเก็บกัก 21 วัน ทำการทดลอง 0 - 24 วัน ประกอบด้วยชุดการทดลอง 1 เฟส, 2 เฟส และ 1 เฟสตัวกลางพบว่าชุดถังหมักชุด 1 เฟสตัวกลาง มีประสิทธิภาพการบำบัดและอัตราการเกิดก๊าซดีที่สุด คือ ประสิทธิภาพการบำบัด pH, COD, TSS และ TP มีค่าเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 54.03%, 57.88%, 72.55% และ 78.89% ตามลำดับ และเกิดก๊าซได้ 7 ลิตร/วัน จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กระบวนการหมักแบบไร้อากาศสามารถบำบัดนํ้าเสียจากโรงงานข้าวเกรียบได้
This research was conducted to study removal efficiency and biogas production from wastewater from Cracker Industry by biogas production process. Using 20.0 L effective volume pilot scale reactor and hydraulic retention time(HRT) for 21 days,
operated between 0 - 24 days. Treatments were investigated Include of in single-phase, two-phase and single- phase (mediated). The results show that the average optimum
percentage of gas production and removal efficiency single-phase (mediated) were 54.03%, 57.88%, 72.55% and 78.89% respectively. The highest total gas productionfrom single-phase (mediated) were 7 l/d. The experimental results could be Wastewater Treatment from Cracker Industry by Anaerobic Digestion.