สมบัติของผ้าทอต่างโครงสร้างจากเส้นด้ายพอลิเอทิลินเทเรฟทาเลตรีไซเคิลสําหรับเก้าอี้พกพา

Main Article Content

วิชุดา จันทร์ประภานนท์
บิณฑสันต์ ขวัญข้าว
ศิริวรรณ ดวงหิรัญ
ธนะเกียรติ รวีวงค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเส้นด้ายพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตรีไซเคิล (rPET) มาใช้ในงานสิ่งทอเทคนิคนอกเหนือจากในงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม จึงเกิดแนวคิดนำเส้นด้าย rPET ทอเป็นผืนผ้าขึ้นรูปกับเก้าอี้พกพาสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง เริ่มจากการตีเกลียวเส้นด้าย rPET เบอร์ 300 ดีเนียร์ ที่ไม่ได้ผ่านการตีเกลียวจำนวน 1 เส้น และ 2 เส้น นั่นคือ rPET-1 และ rPET-2 จากนั้นทอผ้าหกตัวอย่างด้วยลายทอสามโครงสร้าง ได้แก่ ลายขัด ลายทแยง และลายขัดสานตะกร้า กำหนดใช้ rPET-2 เป็นเส้นด้ายยืนมีความหนาแน่น 50 เส้นต่อนิ้ว rPET-1 หรือ rPET-2 เป็นเส้นด้ายพุ่งมีความหนาแน่น 40 เส้นต่อนิ้ว พบว่า การใช้ rPET-2 เป็นเส้นด้ายพุ่ง ทำให้ผ้าทอทุกโครงสร้างมีความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงฉีกขาดมากกว่าเส้นด้าย rPET-1 ผ้าทอลายขัดมีความแข็งแรงต่อแรงดึงมากที่สุด ขณะที่ผ้าทอลายทแยงมีความแข็งแรงต่อแรงฉีกขาดมากที่สุด ผ้าทอสองโครงสร้างนี้ถูกเลือกนำไปใช้ในการขึ้นรูปเก้าอี้พกพาเพื่อเปรียบเทียบกับเก้าอี้พกพาในท้องตลาดจากผ้าพอลิเอสเตอร์พบว่า เมื่อได้รับแรงกด 150 กิโลกรัมแรง จำนวน 5 รอบ เก้าอี้พกพาที่ใช้ผ้ารองนั่งจากผ้าทอลายขัดที่ใช้เส้นด้าย rPET-2 เป็นเส้นด้ายพุ่ง ทนทานที่สุด เนื่องจากไม่พบความเสียหายบนผ้ารองนั่งและเหล็กไขว้ของเก้าอี้ รวมทั้งมีการยืดของผ้าน้อยที่สุด งานวิจัยนี้จึงยืนยันศักยภาพของ rPET สำหรับความทนทานและความยั่งยืนของผ้ารองนั่งเก้าอี้พกพาสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง รวมทั้งแสดงถึงความเป็นไปได้ในการนำวัสดุรีไซเคิลนี้ไปประยุกต์ใช้ในงานสิ่งทอเทคนิคในลักษณะคล้ายกันได้อีกด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
จันทร์ประภานนท์ ว., ขวัญข้าว บ., ดวงหิรัญ ศ., และ รวีวงค์ ธ., “สมบัติของผ้าทอต่างโครงสร้างจากเส้นด้ายพอลิเอทิลินเทเรฟทาเลตรีไซเคิลสําหรับเก้าอี้พกพา”, RMUTI Journal, ปี 16, ฉบับที่ 3, น. 24–36, ธ.ค. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

Telli, A. and Özdil, N. (2015). Effect of Recycled PET Fibers on the Performance Properties of Knitted Fabrics. Journal of Engineered Fibers and Fabrics. Vol. 10, Issue 2, pp. 47-50

Frost, H., Zambrano, M. C., Leonas, K., Pawlak, J. J., and Venditti, R. A. (2020). Do Recycled Cotton or Polyester Fibers Influence the Shedding Propensity of Fabrics during Laundering? AATCC Journal of Research. Vol. 7, Issue 1_suppl, pp. 32-41. DOI: 10.14504/ajr.7.S1.4

Khan, S. U., Hassan, T., Wasim, M., Khan, M. Q., Salam, A., Hassan, S. Z. U., Abbasi, A. M. R., and Mustafa, T. (2023). Valorization of Recycled PET for Yarn Manufacturing and Knitwear Fabrics used for Apparel Applications. Polymer Bulletin. Vol. 80, Issue 3, pp. 2779-2799. DOI: 10.1007/s00289-022-04172-8

Albini, G., Brunella, V., Placenza, B., Martorana, B., and Guido Lambertini, V. (2019). Comparative Study of Mechanical Characteristics of Recycled PET Fibres for Automobile Seat Cover Application. Journal of Industrial Textiles. Vol. 48, No. 6, pp. 992-1008. DOI: 10.1177/1528083717750887

Bhanderi, K. K., Joshi, J. R., and Patel, J. V. (2023). Recycling of Polyethylene Terephthalate (PET Or PETE) Plastics - An Alternative to Obtain Value Added Products: A Review. Journal of the Indian Chemical Society. Vol. 100, Issue 1, DOI: 10.1016/j.jics.2022.100843

KiriŞ, G. and Yılmaz, D. (2021). The Effect of Recycled Polyester (rPET) Filament Fiber Properties on Various Woven Fabric Performance Properties. Tekstil ve Konfeksiyon. Vol. 31, No. 3, pp. 171-182. DOI: 10.32710/tekstilvekonfeksiyon.767428

Seval, U. (2021). The Bursting Strength Properties of Knitted Fabrics Containing Recycled Polyester Fiber. The Journal of The Textile Institute. Vol. 112, Issue 12, pp. 1998-2003. DOI: 10.1080/00405000.2020.1862490

Majumdar, A., Shukla, S., Singh, A. A., and Arora, S. (2020). Circular Fashion: Properties of Fabrics Made from Mechanically Recycled Poly-Ethylene Terephthalate (PET) Bottles. Resources, Conservation and Recycling. Vol. 161, Article 104915. DOI: 10.1016/j.resconrec.2020.104915

Atakan, R., Sezer, S., and Karakas, H. (2020). Development of Nonwoven Automotive Carpets Made of Recycled PET Fibers with Improved Abrasion Resistance. Journal of Industrial Textiles. Vol. 49, No. 7, pp. 835-857. DOI: 10.1177/1528083718798637

Jahan, I. (2017). Effect of Fabric Structure on the Mechanical Properties of Woven Fabrics. Advance Research in Textile Engineering. Vol. 2, No. 2, DOI: 10.26420/advrestexteng.2017.1018

Kotb, N. A. (2012). Predicting Yarn Quality Performance Based on Fibers types and Yarn Structure. Life Science Journal. Vol. 9, No. 3, pp. 1009-1015

Eryuruk, S. and Kalaoglu, F. (2015). The Effect of Weave Construction on Tear Strength of Woven Fabrics. Autex Research Journal. Vol. 15, No. 3, pp. 207-214. DOI: 10.1515/aut-2015-0004