ผลของด่างต่อการตกตะกอน และค่า pH ของนํ้าสีสกัดจากใบโมกพวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของด่างต่อการตกตะกอน และค่าความเป็นกรด-ดา่ ง (pH) ของน้ำสีจากใบโมกพวงที่ใช้วิธีการสกัดเย็น อัตราส่วนใบโมกพวง 1:5 (w/v) แช่ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 72 ชั่วโมง พบว่า น้ำสีจากใบโมกพวงสกัดเย็นมีสีเขียว-น้ำเงินไม่มีตะกอน และมีค่า pH อยู่ที่ 4.8 จากนั้นเติมสารให้ความเป็นด่างที่แตกต่างกัน 3 ชนิด คือ ปูนแดง ปูนขาว และโซเดียมคาร์บอเนตที่อัตราส่วน 1:25 (w/v) คนให้สารละลายเข้ากันกับน้ำสีสกัดเย็นจากใบโมกพวง ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องระยะเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้เนื้อสีตกตะกอน และนำตะกอนที่ได้มาชั่งน้ำหนัก และวัดค่าความเป็นกรด-ดา่ ง (pH) พบว่าชนิดของสารให้ความเป็นด่างที่แตกต่างกันมีผลต่อการเกิดตะกอนสี และค่า pH จากน้ำสีสกัดใบโมกพวงที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยลักษณะ และนํ้าหนักตะกอนของปูนแดงจะมีลักษณะเป็นโคลนสีนํ้าเงินเข้ม ตะกอนของปูนขาวจะมีลักษณะเป็นเนื้อทรายหยาบสีฟ้า มีค่านํ้าหนักตะกอนอยู่ที่ 61.3 และ 25.3 กรัม ส่วนโซเดียมคาร์บอเนตไม่พบการตกตะกอนแต่นํ้าสีมีความเข้มขึ้น สำหรับผลของการเติมด่างต่อค่า pH พบว่า การเติมปูนแดงทำให้ตะกอนสีมีค่า pH สูงที่สุดอยู่ที่ 11.5 รองลงมาคือ น้ำสีจากโซเดียมคาร์บอเนตมีค่า pH อยู่ที่ 9.8 และตะกอนสีจากปูนขาวมีค่า pH อยู่ที่ 5.4
Article Details
References
Younsook, S., Dong Il ,Y., and Kangwha, K. (2012). Process Balance of Natural Indigo Production Based on Traditional Niram Method. Textile Coloration and Finishing. Vol. 24, Issue 4, pp. 253-259. DOI: 10.5764/TCF.2012.24.4.253
Gokhale, S. B., Tatya, A. U., Bakliwal, S. R., and Fursule, R. A. (2004). Natural Dye Yielding Plants in India. R.C. Patel College of Pharmacy Shirpur, India
Meipan, N. (2015). Silk Dyeing with Natural Dyes from Krachai Dam Rhizome. Master’s Thesis, Kasetsart University
Saithong, A. (2012). Natural Dyed Indigo Silk. KKU Science Journal. Vol. 40, Number 2, pp. 423-435
Yoshiko, I. W., Rice, M. K., and Barton, J. (1999). Shibori: The Inventive Art of Japanese Shaped Resist Dyeing. Tokyo: Kodansha International 277-283
Mongkolrattanasit, R., Klaijoi, C., ChangMuang, S., Sasitorn, N., ManaRungwit, K., Mahain, K., PhaisanTantiwong, N., Roongruangkitkrai, N., Chamnongkan, T., Wong Phakdi W., and Tiyasri S. (2017). New Natural Indigo Dyeing Guide on Silk and Cotton Yarns Commercially. Kor-Hor Company Limited. Bangkok
Puakpong, S. (2018). Natural Dyes Technology. Department of Home Economics. Kasetsart University, Bangkok. (Teaching Document)
Maugare, T., Enaud, E., Sayette, A. D. L., Choisy P., and Legoy, M. D. (2002). Beta-Glucosidase- Catalyzed Hydrolysis of Indican from Leaves of Polygonum tinctorium. Biotechnology Progress. Vol. 18, Issue 5, pp. 1104-1108. DOI: 10.1021/bp025540+
Chantarangsi, K. (2013). Design of Weaving Structure for Hand-Woven Indigo Dye Fabric. Case Study Group of Ban Don Koi Indigo-Dyed Weaving Group Phanna Nikhom District Sakon Nakhon. Province Graduate School. Srinakarinwirot University
Sahakitpichana, P., Chimnoia, N., Srinrocha, C., Ruchirawata, S., and Kanchanapooma, T. (2018). Benzoxazinoid and Indoxyl Glycosides from Wrightia Religiosa. Faculty of Pharmaceutical Sciences, Khon Kaen University. Khon Kaen
Precha, P. (2009). The Study of Natural Indigo Dyeing Processic on Cotton. Bachelor of Science Project in Chhemisty. Nakhon Si Thammarat Rajabhat University