อิทธิพลของการบ่มแข็งสองครั้งที่มีต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกลของอะลูมิเนียมหล่อแบบกึ่งของแข็งเกรด 2024

Main Article Content

สิริพร ขันทองคำ
สมศักดิ์ ศิวดำรงพงศ์
ธวัชชัย ปลูกผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาผลของการบ่มแข็งแบบหนึ่งครั้งและสองครั้งที่มีต่อโครงสร้างจุลภาค และสมบัติทางกลของอะลูมิเนียมหล่อแบบกึ่งของแข็งเกรด 2024 ที่ผ่านกระบวนการทางความร้อนแบบ T6 โดยอบละลายเฟสที่อุณหภูมิ 505 oC นาน 4 ชั่วโมง ตามด้วยการชุบน้ำที่อุณหภูมิห้อง และในการบ่มแข็งหนึ่งครั้งจะบ่มแข็งที่อุณหภูมิ 190 oC เป็นเวลา 6 9 12 15 และ 18 ชั่วโมง ตามลำดับ ในขณะที่การบ่มแข็งสองครั้งจะบ่มแข็งครั้งแรกที่อุณหภูมิ 110 oC เป็นเวลา 8 ชั่วโมง และบ่มแข็งครั้งที่สองที่อุณหภูมิ 170 oC เป็นเวลา 0.5 1 1.5 2 2.5 3 3.5 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ และศึกษาผลที่มีต่อโครงสร้างจุลภาคภายหลัง การบ่มแข็งด้วยกล้องจุลทรรศน์แสง รวมถึงศึกษาผลที่มีต่อสมบัติทางกลด้วยการทดสอบค่าความแข็ง แบบร็อคเวลสเกลบี และทดสอบสมบัติความต้านแรงดึงสูงสุดด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างจุลภาคภายหลังการบ่มแข็งนั้นประกอบด้วยเฟสยูเทคติกที่มีการกระจายตัวตามขอบเกรนของเฟสแอลฟาอะลูมิเนียมที่มีลักษณะเป็นเกรนก้อนกลม และในการบ่มแข็งหนึ่งครั้งให้ค่าความแข็งสูงสุดที่เวลาในการบ่มแข็งที่อุณหภูมิ 190 oC เป็นเวลา 15 ชั่วโมง ให้ค่าความแข็งและค่าความต้านแรงดึงสูงสุด 82.7 HRB และ 395.3 MPa ตามลำดับ ในขณะเดียวกันการบ่มแข็งสองครั้งที่เงื่อนไขการบ่มแข็งครั้งแรกที่อุณหภูมิ 110 oC เป็นเวลา 8 ชั่วโมง และบ่มแข็งครั้งที่สองที่อุณหภูมิ 170 oC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ให้ค่าความแข็งและค่าความต้านแรงดึงสูงสุด 108 HRB และ 415.70 MPa ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อนำค่าสมบัติทางกล ทั้งค่าความแข็งและค่าความต้านแรงดึงสูงสุดมาเปรียบเทียบกันระหว่างการบ่มแข็งหนึ่งครั้งกับการบ่มแข็งสองครั้งพบว่าการบ่มแข็งสองครั้งให้ค่าสมบัติทางกลที่ดีกว่าและใช้เวลาในการบ่มแข็งน้อยกว่า

Article Details

How to Cite
[1]
ขันทองคำ ส., ศิวดำรงพงศ์ ส., และ ปลูกผล ธ., “อิทธิพลของการบ่มแข็งสองครั้งที่มีต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกลของอะลูมิเนียมหล่อแบบกึ่งของแข็งเกรด 2024”, RMUTI Journal, ปี 13, ฉบับที่ 1, น. 102–114, ต.ค. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

Iron and Steel Institute of Thailand. (2014). Survey Status of Industry for Non-Ferrous Metals. Bangkok: Iron and Steel Institute of Thailand (in Thai)

Wijit, P. (1999). Melting and Heat Treatment of Aluminium Technology Casting. National Metal and Materials Technology Center (in Thai)

Reis, D., Couto, A., Domingues, N., Hirschmann, A., Zepka, S., and Moura, C. (2012). Effect of Artificial Aging on the Mechanical Properties of an Aerospace Aluminum Alloy 2024. Defect and Diffusion Forum. Vol. 326-328, pp. 193-198. DOI: 10.4028/www.scientific.net/DDF.326-328.193

Siriwan, P., Sirikul, W., Thawatchai, P., and Jessada, W. (2011). Microstructure Evolution During Solution Heat Treatment of Semisolid Cast 2024 Aluminum Alloy. Advanced Materials Research. Vol. 339, pp. 714-717. DOI: 10.4028/www.scientific.net/AMR.339.714

Chemingui, M., Khitouni, M., Jozwiak, K., Mesmacque, G., and Kolsi, A. (2010). Characterization of the Mechanical Properties Changes in an Al-Zn-Mg Alloy After a Two-Step Ageing Treatment at 70o and 135 oC. Journal of Material and Design. Vol. 31, Issue 6, pp. 3134-3139. DOI: 10.1016/j.matdes.2009.12.033

Gao, N., Starink, M., Kamp, N., and Sinclair, I. (2007). Application of Uniform Design in Optimization of Three Stage Ageing of Al-Cu-Mg Alloys. Journal of Materials Science. Vol. 42, pp. 4398-4405. DOI: 10.1007/s10853-006-0659-6

Emani, S., Benedyk, J., Nash, J., and Chan, D. (2009). Double Aging and Thermo Mechanical Heat Treatment of AA7075 Aluminum Alloy Extrusion. Journal of Materials Science. Vol. 44, pp. 6384-6391. DOI:10.1007/s10853-009-3879-8

Elgallad, E., Zhang, Z., and Chen, X. (2015). Effect of Two-Step Aging on the Mechanical Properties of AA2219 Dc Cast Alloy. Materials Science and Engineering. Vol. 625, pp. 213-220. DOI: 10.1016/j.msea.2014.12.002

Jessada, W. (2011). Technology of Semi-Solid. National Metal and Materials Technology Center, Thai Foundry Association. pp. 48-53 (in Thai)

Romadorn, B., Rangsinee, C., and Jessada, W. (2009). Development of the Gas Induced Semi-Solid Metal Processing for A356 Aluminum Alloy. The 7th PSU Education Conference “Higher Education for All: Surviving in Times of Change. Prince of Songkla University. pp. 549-554 (in Thai)

Siriporn, K., Sirikul, W., Thawatchai, P., and Jessada, W. (2009). Influence of Heat Treatment Processing Parameters on the Hardness and the Microstructure of Semi-Solid Aluminum Alloy A356. Journal of Metals, Materials and Minnerals. Vol. 18, No. 2, pp. 93-97

Sirikul, W. (2000). Physical Metallurgy. Department of Mechanical Engineering Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (in Thai)